วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560



จากการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในเดือนมกราคม  ปี2559 หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงในที่ประชุมคือ การไม่บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ โดยได้มีการคัดค้านเเละยกเหตุผลต่างๆ มายับยั้ง อันเป็นชนวนเหตุทำให้มีผลต่อการปลูกฝังศีลธรรมของคนในชาติ เเม้จะพึ่งผ่านไปได้เพียงปีเดียว ก็เห็นเหตุของความวุ่นวายในสังคมที่ขาดศาสนาประจำชาติอย่างศาสนาพุทธค้ำจุนได้ชัดเจน มาย้อนเหตุการณ์สำคัญนี้อีกครั้ง เเล้วจะกระจ่างใจ หรือยังคงข้องใจ
คุณอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมธิการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงความคืบหน้าการร่างรัฐธรรมนูญที่ชะอำว่า ในหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งพระพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกเเละที่ประชุมยังเห็นชอบว่า จะไม่บัญญัติให้ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่าหากใส่ถ้อยคำดังกล่าวไว้ จะเป็นอันตรายในระยะยาว


"ผมไม่รู้ว่ากรรมธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้กลัวอะไร และอะไรคืออันตรายในระยะยาว"


การบัญญัติให้ ศาสนาที่มีคนส่วนใหญ่ในประเทศนับถือ เป็นศาสนาประจำชาติ ทุกประเทศก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หรืออันตรายแต่อย่างใด มีรายงานการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.โรเบริ์ต เจ. บาร์โร ระบุว่า มีถึง 58 ประเทศในโลกที่มี การบัญญัติ ศาสนาประจำชาติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ และก็ไม่มีคนในศาสนาอื่นในประเทศเหล่านี้ต่อต้านแต่อย่างใด เพราะรู้ดีว่า ศาสนาดั้งเดิมของคนส่วนใหญ่ในประเทศนั้นคืออะไร ย่อมที่จะให้เกียรติเจ้าของประเทศ

คุณมีชัย ฤชุพันธุ์  ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญไปค้นข้อมูลดูได้ พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ราวพ.ศ. 236 สมัยเดียวกับที่เข้าไปเผยแผ่ใน ศรีลังกา จากพระธรรมฑูต 9 สาย ที่พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดียที่ส่งออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประเทศไทยสมัยนั้นยังรวมอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ จาก พ.ศ. 236 ถึง พ.ศ. 2559 พุทธศาสนาก็อยู่ในดินแดนไทยมานานถึง 2,323 ปีแล้ว แล้วกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญไปกลัวอะไร จึงไม่กล้าบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
จากรายงาน การสำรวจภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ส. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ประชากรของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 94.6 นับถือ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 4.6 และนับถือ ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.7 ที่เหลือคือผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆและผู้ที่ไม่มีศาสนา


ในงานการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.โรเบิร์ต เจ.บาร์โร ระบุว่า ประเทศที่ระบุศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอิสลาม กลุ่มคริสเตียน และลักธิเก่าในยุโรป  กลุ่มพุทธและฮินดู โดย กลุ่มอิสลาม จะระบุชัดเจนไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่า  Islam is the religion of state หรือ The religion of the State is Islam ศาสนาอิสลามคือ ศาสนาประจำชาติ
ความจริง ชาวพุทธ เมื่อเทียบกับศาสนาอื่น ถือว่ามีจำนวนน้อยมาก เพียง 6 เปอร์เซ็นต์ของพลเมืองโลกเท่านั้นเอง

ประเทศที่เคร่งในพุทธศาสนาที่สุดคือ ภูฏาน รัฐธรรมนูญของภูฏานเรียกกันว่า Buddhist Constiution เลยทีเดียว เพราะมีการบัญญัติถึงกระบวนการแต่งตั้ง พระสังฆราชในรัฐธรรมนูญด้วย



รัฐธรรมนูญภูฏาน บัญญัติไว้ว่า ศาสนาพุทธคือมรดกทางจิตวิญญาณของภูฏาน ซึ่งส่งเสริมหลักการและคุณค่าของสันติภาพ ความไม่รุนแรง ความเมตตา และความอดกลั้น
อีกประเทศหนึ่งที่มีการบัญญัติพุทธศาสนาไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็คือ ศรีลังกา
โดยบัญญัติว่า สาธารณรัฐศรีลังกาจะยกศาสนาพุทธไว้ในที่สูงสุด และโดยนัยนี้ เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปกป้องและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก็ให้ความมั่นใจว่า ทุกศาสนาจะมีสิทธิตามมาตรา 10 และมาตรา 14...


แม้แต่ ลาว ที่ปกครองในระบบคอมมิวนิสต์ ก็ยังบัญญัติว่า รัฐเคารพและปกป้องกิจกรรมอันถูกต้องตามกฏหมายของชาวพุทธ และผู้นับถือศาสนาอื่น ส่งเสรมิพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ รวมทั้งพระในศาสนาอื่น โดยระบุชื่อ ศาสนาพุทธ อย่างชัดเจน
ก็ในเมื่อคนไทยเกือบ 70 ล้านคน เป็นชาวพุทธถึง 94.6 % หรือกว่า  66 ล้านคน แล้ว กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ไปกลัวอะไร จึงไม่กล้าระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ฟังเหตุผลแล้วมันทะแม่งฟังไม่ขึ้นนะ


 ลมเปลี่ยนทิศ




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Unordered List

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โพสต์แนะนำ

ภูติ ผี ปีศาจ เเตกต่างกันอย่างไร

                ภูติ ผี ปีศาจ เป็นคำที่เราเคยได้ยินได้ฟัง มาตั้งเเต่ยังเด็ก เเม้กระทั่งละคร ภาพยนต์ต่างๆก็จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้...

Popular Posts

Text Widget