วรัตดาอธิบายหลักการคิดหลังจากการปฏิบัติธรรมว่า ตอนที่ครอบครัวมีปัญหาเลิกรากันไป เธอร้องไห้เพียงวันเดียวเท่านั้น เพราะมีอุเบกขาและใช้วิธีนั่งสมาธิเพื่อทำจิตใจให้สงบ
“ ในช่วงนั้นพี่มาหาคุณสนธิ ลิ้มทองกุล กัลยาณมิตรของพี่ท่านหนึ่งที่บ้านพระอาทิตย์ คุณสนธิสอนเรื่องการรักษาใจ ซึ่งคุณสนธิอธิบายว่า รักษาใจคือรักษาใจให้มีความสุข คุณสนธิสอนว่า ตอนที่มีความสุข ถ้าเราไม่รักษาใจให้อยู่อุเบกขา รู้ว่าความสุขนี่อนิจจัง เวลามันทุกข์ มันทุกข์นะ พี่จึงล้มแล้วลุกเร็ว ซึ่งถ้าเราปฏิบัติไปสัก 10-20 ปีอาจจะไม่ล้มก็ได้นะ พี่เชื่อว่ามันจะดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะปฏิบัติธรรมทำให้คนดีขึ้น ถ้าไม่มีธรรมะอาจจะจมปรัก ช้ำใจอยู่นาน แต่ความที่เรายอมรับความจริง ธรรมะจัดสรรให้เรื่องมันเกิดและมันจบได้เร็วมาก เจอกัน รักกัน นอกใจ เลิกกัน ทุกอย่างมันรวดเร็วมาก ซึ่งพี่เชื่อว่ามันเป็นกรรมของพี่ที่พี่ใช้ไปแล้ว ไม่มีการต่อยอด ”
ทั้งนี้ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมักมีเหตุผลเสมอ การปฏิบัติธรรมไม่ได้วัดว่าอาจารย์ท่านไหนดี เพราะทุกคนสอนธรรมะหมด แต่เราต้องวัดว่าจริตนี้กับเรานั้นเข้ากันไหม ซึ่งคำว่า ถูกในที่นี้คือ ทุกๆวันของเรารู้สึกดีขึ้น ทุกวันเจอเหตุการณ์เดิมที่เคยโมโหแล้ววันหนึ่งเคยโกรธ 10 ก็ลดลงเหลือ 5 นาที อารมณ์โกรธเริ่มลดลงเรื่อยๆ มันคือความสำเร็จ
บทสัมภาษณ์ข้างล่างนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งน้อยนิด
ของบทเรียนชีวิตที่เธอค้นพบคำตอบว่า
จุดสูงสุดในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่ง
ที่ผู้หญิงเกินครึ่งในโลกนี้อยากไปถึงจุดนั้น
ทำไมยังสร้างความสุขให้เราจริงๆไม่ได้
ความสำเร็จเเบบไหนที่คนเราจับต้องได้จริงๆ
เเละที่สำคัญที่สุด การเเก้ปัญหาเเบบไหนที่จะเรียกได้ว่าตรงเป้า
เริ่มที่ไหน ถ้าไม่ใช่ที่ใจเราเอง
เเหล่งข้อมูล อ่านบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ที่ http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000039363&Page=ALL
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น