วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559



เมื่อประมาณปี ๒๕๑๐ เป็นช่วงเวลาที่กลุ่มปัญญาชนของชาติ กำลังมุ่งที่จะเปลี่ยนเเปลงประเทศ โดยการฝักใฝ่สนใจในลักธิคอมมิวนิสต์กันเป็นจำนวนมาก มีการชุมนุมเรื่องการเมืองเกิดขึ้นบ่อยครั้ง บ้านเมืองไม่สงบสุข ส่วนประเทศเพื่อนบ้านทั้งเวียดนาม  เขมร ลาว เเละพม่า ล้วนเเต่ตกอยู่ในอำนาจของลักธิมิจฉาทิฏฐิดังกล่าว มีสงครามภายในประเทศกันอย่างรุนเเรง ผู้คนล้มตายมากมาย
         เเต่หากในช่วงเวลาเดียวกัน ก็มีการก่อกำเนิดเด็กหนุ่มสาว ที่สนใจเรื่องศาสนาอย่างหมู่คณะที่บ้านธรรมประสิทธิ์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับวัดปากน้ำภาษีเจริญ มีคุณยายอาจารย์เเม่ชีจันทร์  ขนนกยูง( คุณยายมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง) สมัยนั้นเป็นผู้ฝึกฝน อบรม เเละสอนสมาธิ จนเด็กหนุ่มผู้นำกลุ่ม ได้เกิดปัญญาจากการนั่งสมาธิ ได้ตั้งสัตยาธิษฐานเป็นของขวัญวันเกิดให้คุณยายในปีนั้น ขออยู่เป็นโสด ประพฤติพรหมจรรย์ ตั้งใจปฏิบัติธรรม เเละช่วยงานพระศาสนาไปจนตลอดชีวิต  เเละหลังจากนั้นในเเต่ละปีทุกวันคล้ายวันเกิดของท่าน ก็จะมีสมาชิกในกลุ่มค่อยๆทยอย ตั้งสัตยาธิษฐานตาม จนรวบรวมหมู่คณะได้จำนวนหนึ่ง ถึงได้มีการคิดถึง การบวช เเละการสร้างวัดเพื่อรองรับงานพระพุทธศาสนาตามมา
        บ้านธรรมประสิทธิ์ ที่พักของคุณยายอาจารย์ ถือเป็นจุดเริ่มต้น ของหมู่คณะก่อนที่จะมาเป็นวัดพระธรรมกาย ในเวลาต่อมา ถือเป็นบ้านเเห่งความทรงจำสำหรับบุคคลรุ่นบุกเบิกที่เคยไป ได้เห็นความ ไม่มี ก่อนที่จะมี ได้เห็นการค่อยๆสร้าง วัด สร้างคน สร้างทีม ระดมทุน จากจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ได้เห็นความฉลาดเฉลียว ปฏิภาณไหวพริบ ของผู้นำ จนถึงลูกทีม ที่ร่วมกันฝันฝ่าทุกปัญหาเคียงบ่าเคียงไหล่กันมา จนถึงทุกวันนี้ที่หลายคนในยุคนั้นได้สิ้นอายุขัยไปตามกาลเวลา หรือที่ยังคงอยู่ก็ล้วนเเต่เป็นวัยบั้นปลายชีวิต เเต่ก็ยังคงจำได้ถึงความเป็นห่วงเป็นใยกันเเละกันในหมู่คณะในสมัยนั้นได้ดี โดยเฉพาะเรื่องราวประทับใจ ระหว่างหลวงพ่อเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน คือ พระเทพญาณมหามุนี เเละรองเจ้าอาวาส คือ พระภาวนาวิริยคุณ ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็น รุ่นพี่ที่เรียนจบพึ่งเข้าทำงาน กับรุ่นน้องสถาบันเดียวกันที่ยังเรียนอยู่ คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เเต่รักในการปฎิบัติธรรม ต้องมาปฏิบัติธรรมกับหมู่คณะไม่เคยขาด ซึ่งอุบาสิกาถวิล วัติรางกูล หรือป้าหวิน ได้พบเห็นเเละบันทึกเหตุการณ์ช่วงนั้นไว้ว่า

     มีอยู่เย็นวันหนึ่ง ขณะที่ทุกคนกำลังนั่งสมาธิกันเงียบกริบ ป้ายังกำหนดใจอะไรไม่ได้ พอหูได้ยินเสียงเคลื่อนไหวที่พื้นกระดาน ใจของป้าก็คิดเป็นห่วงกระเป๋าสตางค์ของบรรดาชาย  เกรงจะมีใครเเอบขึ้นบันไดมาหยิบเอาไปหมด เวลานั้นป้าไม่เข้าใจว่า ทำไมเวลานั่งสมาธิ ผู้ชายทุกคนจะต้องหยิบเอากระเป๋าสตางค์  ออกมาจากกางเกงเอาไว้ข้างตัว ป้าคิดเอาเองว่า
"เค้าคงปล่อยวาง ไม่ยึดติดในสมบัติอะไรกระมัง เลยเอาทรัพย์สินเงินทองออกมาวางทิ้งซะ"


ภายหลังจึงทราบว่า เพราะมีกระเป๋าสตางค์อยู่ในกางเกง กระเป๋าจะค้ำตัว ทำให้กางเกงตึง นั่งไม่สบาย เเต่การนั่งสบายของฝ่ายชาย ทำให้ป้ารู้สึกไม่สบาย เป็นห่วงเป็นใยกระเป๋าพวกนั้น
     พอนึกห่วง ก็หรี่ตาดู ว่าอะไรมาทำเสียงเหมือนคนเคลื่อนไหว ป้าเห็นหลวงพ่อรองเจ้าอาวาสของเรา ท่านกำลังคลานมาทางด้านหลังของคนอื่นๆที่นั่งสมาธิล้อมเกือบเป็นรูปวงกลม  ป้ามองตาม จนในที่สุดก็เห็นคลานไปที่กระเป๋าสตางค์ของหลวงพ่อเจ้าอาวาส หยิบขึ้นมาเปิด ป้าหรี่ตาจ้องมองเป๋งเลย  เปิดกระเป๋าคนอื่นทำไม ป้าเห็นเปิดเเล้วทำท่าเหมือนนับดูเงิน ขณะเดียวกัน ก็ดึงกระเป๋าสตางค์ตัวเองออกมาจากกางเกง หยิบธนบัตรออกมานับปึกหนึ่ง ใส่ลงในกระเป๋าของอีกฝ่าย ป้าถอนใจอย่างโล่งอก รู้สึกตื้นตันจนน้ำตาซึม นึกไป
"สงสัยซะใหญ่โต ที่เเท้คุณเด็ดก็ห่วงน้องจะไม่มีเงินใช้ กำลังเรียนปีสุดท้าย ต้องใช้จ่ายมาก ส่วนคุณเด็ดเรียนจบเเล้ว มีงานทำรายได้ดี จึงเอามาเเอบเเบ่งให้ใช้ ถ้าให้ซึ่งๆหน้า ฝ่ายน้องก็คงไม่ยอมรับ คงบอกคอเป็นเอ็นว่า มีเเล้ว มีเเล้ว ทั้งที่มีบาทเดียวก็ได้ว่ามีเเล้วนั่นเอง"


   นับเเต่วันนั้นมา ป้าจะได้ยินคนคลานเคลื่อนไหว ขณะนั่งสมาธิอีกกี่ครั้ง ก็ไม่กังวลห่วงใย
จนต้องลืมตาดูอีกเลย
ทำให้ความทรงจำของป้าเกี่ยวกับบ้านธรรมประสิทธิ์ ล้วนเเต่เป็นความทรงจำที่มีความอบอุ่น เป็นความทรงจำในอดีตที่ไม่มีวันย้อนกลับมาเกิดใหม่ได้อีก เเละให้ข้อคิดตามที่ป้าได้บันทึกไว้ว่า
คนมีความทุกข์ จะเป็นทุกข์เเง่ใดก็ตาม จะขวนขวายสนใจ เเละเอาจริงต่อการศึกษาเล่าเรียน  ปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา ตรงข้ามกับคนที่มีความสุข มีความสมบูรณ์พรั่งพร้อม ในโลกธรรม ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มักเป็นผู้ประมาทมัวเมา มองไม่เห็นคุณค่าของคำสอน เเละมักถือว่า ไม่ต้องสนใจ  ไม่ต้องทำตาม ชีวิตก็สุขสบายดีเเล้ว ไม่รู้ความจริงว่า ที่ตนสุขสบายอยู่นั้น เพราะผลของกรรมดี ที่ทำไว้ในอดีตค้ำจุนอยู่ เมื่อใดบุญนั้นหมดลง กรรมชั่วอื่นๆที่ค้างอยู่ก็คงตามมาให้ผลเเทน เมื่อนั้นก็ต้องพบกับความวิบัติเเน่นอน....

 จากหนังสือ จากความทรงจำ เรื่องกำเนิดวัดพระธรรมกาย
 โดยอุบาสิกาถวิล วัติรางกูล
หมายเหตุ ชื่อเรียก"คุณเด็ด" มาจากนามเดิมก่อนบวชของพระภาวนาวิริยคุณ คือ นายเผด็จ ผ่องสวัสดิ์

คำวินิจฉัยของศาลปกครองถึงวัดพระธรรมกาย!!
หลายวันก่อน ศาลปกครองสั่งให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ จ่ายเงินชดใช้ค่าเสียหายให้แก่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ในมูลฐานความผิดที่ไม่ตักเตือนคณะกรรมการบริหารสหกรณ์ ปล่อยเงินกู้ให้แก่สมาชิกจนเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง



จากคำวินิจฉัยของศาลปกครองนี้ ยืนยันชัดเจนว่า
1. คดีนี้ผู้เสียหายคือสมาชิกสหกรณ์ ไม่ใช่แผ่นดินเป็นผู้เสียหาย คดีนี้จึงเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน
2. คดีสหกรณ์เป็นปัญหาที่เกิดจากการบริหารภายในสหกรณ์ ไม่ใช่ปัญหาจากภายนอกสหกรณ์
3. เมื่อเป็นปัญหาการบริหารสหกรณ์ สมาชิกต้องร้องเรียนปัญหาสหกรณ์กับศาลปกครอง ไม่ใช่ไปร้องเรียนกับ ปปง. หรือดีเอสไอ
4. ปัญหาการขาดสภาพคล่องของสหกรณ์นั้น วัดพระธรรมกายไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าว
เพราะวัดพระธรรมกายมิใช่ผู้บริหารสหกรณ์ ไม่มีอำนาจในการอนุมัติเงินกู้ของสหกรณ์ ให้แก่สมาชิกรายใดแม้แต่คนเดียว
5. การบริจาคของคุณศุภชัยนั้น เป็นการบริจาคโดยส่วนตัว และวัดพระธรรมกายก็ไม่ทราบความเป็นมาของเงิน เพราะถือว่าเป็นสิทธิของผู้บริจาคที่ไม่จำเป็นต้อง บอกเส้นทางการเงินของตัวเองให้ผู้อื่นทราบ
6. คุณศุภชัยได้บริจาคเงินไปหลายที่ ส่วนที่บริจาคมายังวัดพระธรรมกายนั้น เป็นเงินไม่ถึง 10 % ของวงเงินทั้งหมด และระหว่างลูกศิษย์วัดกับสหกรณ์ ก็ได้มีการตั้งกองทุนช่วยเหลือกันไปแล้ว ตามยอดการบริจาคเข้ามาของคุณศุภชัย
7. การตั้งกองทุนช่วยเหลือกันครั้งนี้ ศิษย์วัดพระธรรมกายกับสหกรณ์ ได้ทำสัญญาช่วยเหลือกัน จนครบตามจำนวนเงินที่มีการบริจาคมา ซึ่งการช่วยเหลือนี้ เพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่สมาชิก และประคับประคองมิให้สหกรณ์ต้องล้มละลาย
8. วัดพระธรรมกายกับสหกรณ์ไม่ได้ อยู่ในฐานะลูกหนี้กับเจ้าหนี้ที่ต้องชดใช้หนี้สินกัน ไม่ได้อยู่ในฐานะผู้ก่อความเสียหายกับผู้เสียหาย ที่ต้องจ่ายค่าเสียหายต่อกัน เพราะวัดพระธรรมกายไม่เคยกู้เงินจากสหกรณ์ และสหกรณ์ก็ไม่เคยปล่อยกู้ให้วัดพระธรรมกาย ดังนั้น ปัญหาที่สหกรณ์ขาดสภาพคล่อง จึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวัดพระธรรมกาย


9. การที่ประเทศชาติจะเกิดความเสียหายได้ ก็ต่อเมื่อสหกรณ์ล้มละลาย เมื่อนั้นถึงจะเป็นคดีอาญาแผ่นดิน แต่ถึงกระนั้นถ้าหากสหกรณ์ล้มละลายจริงๆ สาเหตุการล้มละลายก็มิได้เกิดจากวัดพระธรรมกาย แต่เกิดจากปัญหาการบริหารสหกรณ์อยู่ดี ไม่ว่าคิดจากมุมไหน ความเสียหายของสหกรณ์ จึงไม่ได้เกิดจากวัดพระธรรมกาย
10. ตลอด 2 ปี มานี้ เมื่อสหกรณ์ มีปัญหาขาดสภาพคล่องเกิดขึ้น ศิษย์วัดพระธรรมกายเป็นเพียงคนกลุ่มเดียว ที่ตั้งกองทุนช่วยเหลือสหกรณ์ไม่ให้ล้มละลาย ขณะที่บุคคลอื่นซึ่งรับเงินสหกรณ์ไปกว่า 90 % ของวงเงินทั้งหมด ไม่เคยยื่นมือมาช่วยเหลือสหกรณ์แม้แต่บาทเดียว
11. ตลอด 2 ปีมานี้ ที่สหกรณ์ไม่ล้มละลายนั้น ก็เพราะวัดพระธรรมกายให้การช่วยเหลือมาโดยตลอด
วัดพระธรรมกายจึงอยู่ในฐานะผู้ช่วยเหลือสหกรณ์ ไม่ได้อยู่ในฐานะผู้ก่อความเสียหายให้สหกรณ์ เมื่อประมวลลำดับขั้นตอนอย่างนี้แล้ว 
 บวกกับคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ก็เท่ากับเป็นการยืนยันว่า คดีนี้เป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา เพราะเป็นปัญหาการบริหารสหกรณ์ และวัดพระธรรมกายไม่ใช่ผู้สร้างความเสียหายให้สหกรณ์

คำถาม
1. ทำไมดีเอสไอจึงตีความว่า คดีนี้เป็นคดีอาญาแผ่นดิน และกลับมาตั้งข้อหา ผู้ที่ช่วยเหลือสหกรณ์ไม่ให้ล้มละลาย ว่าเป็นผู้สร้างความเสียหายให้สหกรณ์
2. ทำไมดีเอสไอถึงไม่แนะนำนายธรรมนูญ ผู้มาร้องทุกข์ ให้ดำเนินการร้องทุกข์กับศาลปกครอง เหมือนอย่างกับที่สมาชิกรายอื่นทำ แต่กลับอาศัยเหตุนี้ เป็นข้ออ้างมาดำเนินคดีกับหลวงพ่อวัดพระธรรมกาย
3. การกระทำของดีเอสไอที่ผ่านมานั้นขัดแย้ง กับคำวินิจฉัยของศาลปกครองหรือไม่ ในกรณีที่ไปตีความคดีแพ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดิน ทั้งที่ประเทศยังไม่ได้ตกอยู่ในฐานะผู้เสียหาย เพราะสหกรณ์ยังมิได้ล้มละลาย
4. กรณีที่เช็ค 878 ฉบับนั้น มีผู้รับเช็คไป 30 กว่ากลุ่ม มีเช็คเพียง 20 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย และได้หาทางออกร่วมกับสหกรณ์ จนช่วยเหลือสหกรณ์พ้นภาวะล้มละลายได้แล้ว ทำไมดีเอสไอไม่ไปตามไล่บี้เช็คอีก 858 ฉบับ แต่กลับเจาะจงไล่บี้เฉพาะวัดพระธรรมกาย เหตุใดไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้มีความเสมอภาคต่อกัน
5. วัดพระธรรมกายเป็นเพียงคนกลุ่มเดียว ที่ช่วยเหลือสหกรณ์ไม่ให้ล้มละลาย การมาไล่บี้ผู้ที่ไม่ได้ก่อความเสียหายให้สหกรณ์เช่นนี้ ถือว่าเป็นการจงใจกลั่นแกล้งประชาชนที่ไม่มีความผิด ให้กลายเป็นผู้มีความผิดหรือไม่ ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ ?
6. หากการทำงานของดีเอสไอ ขัดแย้งกับคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่วัดพระธรรมกายตลอด 7 เดือนนี้ 
ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ???
1) ดีเอสไอ
2) รมว.ยุติธรรม หรือว่าใคร
อ่านเเล้วช่วยกันเเชร์ความจริง

cr : Ptt Cnkr
ขอบคุณเเหล่งข้อมูล:http://specialcasestudy.blogspot.de/2016/08/blog-post_26.html

วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ศาสนาทุกศาสนามีประวัติศาสตร์ยาวนานมาเป็นพันๆ ปี
ทุกศาสนาต่างมีสัญลักษณ์อันเป็นศูนย์กลางของแต่ละศาสนา

หินดำศักดิ์สิทธิ์แห่งนครเมกกะ
คือสัญลักษณ์อันเป็นศูนย์กลางของชาวมุสลิมทั่วโลก
เสาโอบิลิสแห่งนครวาติกัน
คือสัญลักษณ์อันเป็นศูนย์กลางของชาวคริสตจักรทั่วโลก
พระเจดีย์ทุกรูปทรงในศาสนาพุทธ
ที่ปรากฏในทุกประเทศเมืองพุทธ
คือสัญลักษณ์อันเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธในแต่ละท้องถิ่น
ที่ชาวพุทธทุกประเทศให้ความเคารพเสมอกัน
พระมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน
แต่ถอดแบบอัตลักษณ์ทางศิลปะ
มาจากเจดีย์ทรงบาตรคว่ำในสมัยโบราณ
ผสานเข้ากับแนวคิดพุทธปรัชญาของเจดีย์บุโรพุทโธ
ก่อกำเนิดเป็นเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ
ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 1 ล้านองค์
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อันเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก
ถ้าหาก "ทนายโซเชียล" ตีความว่า
การใช้ร่างกายตนเอง ล้อเลียน "พระเจดีย์ที่ถอดอัตลักษณ์

มาจากลายเส้นทรงบาตรคว่ำ ผสานแนวคิดเจดีย์บุโรพุทโธ

ที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 1 ล้านองค์" 

เป็นการกระทำที่ไม่มีความผิด
ก็มีคำถามเกิดขึ้นว่า
หากในกรณีเดียวนี้
1) เป็นการใช้ร่างกายล้อเลียน "หินดำศักดิ์สิทธิ์แห่งนครเมกกะ"
อันเป็นศูนย์กลางของชาวมุสลิม จะมีความผิดหรือไม่ ?
2) เป็นการใช้ร่างกายล้อเลียน "เสาโอบิลิสแห่งวาติกัน"
อันเป็นศูนย์กลางของชาวคริสต์ จะมีความผิดด้วยหรือไม่ ?
3) จริงอยู่ การตีความกฎหมาย
อยู่ที่มุมมองของนักกฎหมายแต่ละคน
แต่การมองข้ามประเด็นเรื่อง
การเคารพสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนา
ซึ่งเป็นพื้นฐานสากลของรัฐธรรมนูญทั่วโลก
ก็ถือว่าเป็นเรื่องอ่อนไหวต่อความแตกแยกใช่หรือไม่
4) การล้อเลียนสัญลักษณ์ของแต่ละศาสนานั้น
ต้องถือว่าเป็นการกระทำอันเข้าข่าย
เป็นปรปักษ์ต่อหน้าที่พลเมือง
และขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
อันเป็นพื้นฐานสากลของรัฐธรรมนูญได้หรือไม่
5) ยิ่งถ้าพระเจดีย์นั้นมีหลักฐานโบราณคดี
ปรากฏอยู่ในหลายประเทศ ซึ่งสามารถยืนยัน
ได้ว่าเป็นการก่อสร้างที่ตรงตามอัตลักษณ์
ของเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ และพุทธปรัชญา
ของพระพุทธเจ้า 1 ล้านองค์
ที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ด้วยแล้ว
เจดีย์นั้นถึงจะเป็นการสร้างขึ้นใหม่ในยุคปัจจุบัน
ก็ต้องถือว่าสร้างถูกต้องตามพุทธปรัชญาสากลด้วยใช่หรือไม่
7) ถ้าหากเจดีย์นั้น เคยใช้เป็นที่ประชุมสงฆ์
และตัวแทนชาวพุทธจาก 97 องค์กรพุทธ
ใน 40 ประเทศทั่วโลก มาเกือบ 20 ปีด้วยแล้ว
ก็ต้องถือว่าพระมหาธรรมกายเจดีย์แห่งนี้
ได้รับการยอมรับอย่างเป็นสากลจากพยานบุคคล
ที่เป็นตัวแทนองค์กรพุทธทั่วโลกด้วยใช่หรือไม่
8) เมื่อมีการพิสูจน์ได้จริงทั้ง
- หลักฐานโบราณคดีในประวัติศาสตร์
- พุทธปรัชญาของการสร้างเจดีย์ที่มีอยู่จริง
- พยานบุคคลที่เป็นตัวแทนองค์กรชาวพุทธทั่วโลก
ก็เท่ากับว่าพระมหาธรรมกายเจดีย์
มีคุณสมบัติตรงตามพระเจดีย์อันเป็นสัญลักษณ์
ของชาวพุทธอย่างถูกต้องใช่หรือไม่
9) จากหลักการเหตุผลที่กล่าวมา
การใช้ร่างกายล้อเลียนสัญลักษณ์ทางศาสนา
- ถือเป็นความผิดอาญาได้หรือไม่
- ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาของผู้อื่นได้หรือไม่

- ถือเป็นความผิดที่ขัดแย้งต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงามได้หรือไม่
- ถือเป็นการกระทำที่ขัดแย้งต่อเจตนารมณ์ของ
รัฐธรรมนูญได้หรือไม่

- ถือเป็นการกระทำที่ขัดแย้งต่อเจตนารมณ์ของหลักกฎหมายปกครองได้หรือไม่

ตอบหน่อยอยากรู้?????
------------------------------------
๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
๒๓.๐๘ น.
ปล. ข้อมูลกฎหมายปกครองอ้างอิงจาก  https://www.facebook.com/DroitAdministrative/posts/560430797306168
Cr.หลวงพี่ตรีเทพ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Unordered List

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โพสต์แนะนำ

ภูติ ผี ปีศาจ เเตกต่างกันอย่างไร

                ภูติ ผี ปีศาจ เป็นคำที่เราเคยได้ยินได้ฟัง มาตั้งเเต่ยังเด็ก เเม้กระทั่งละคร ภาพยนต์ต่างๆก็จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้...

Popular Posts

Text Widget