ชาวไทยน้อมส่งเสด็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
สู่สวรรคาลัย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยถึง 70 ปี โดยทรงเป็นที่รักและเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ซึ่งพร้อมใจกันถวายพระสมัญญานามให้ทรงเป็นมหาราช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ที่รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงได้รับการศึกษาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อยังทรงพระเยาว์ และต่อมาทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระเชษฐา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โดยได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยถึง 70 ปี โดยทรงเป็นที่รักและเทิดทูนของปวงชนชาวไทย ซึ่งพร้อมใจกันถวายพระสมัญญานามให้ทรงเป็นมหาราช
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ที่รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงได้รับการศึกษาที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อยังทรงพระเยาว์ และต่อมาทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระเชษฐา เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 โดยได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นผู้ฟื้นฟูสถานะและความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ ให้กลับมามีบทบาทนำในสังคมไทยอีกครั้ง
ผ่านการเสด็จออกเยี่ยมเยียนประชาชนแม้ในถิ่นทุรกันดาร และทรงงานพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรผู้ยากไร้ โดยมีพระราชดำริจัดทำโครงการหลวงกว่า 4,000 โครงการ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและกองทัพ ทั้งยังทรงเป็นผู้วางแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นแนวคิดที่ต้านทานกระแสทุนนิยมยุคโลกาภิวัตน์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นผู้คลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองของไทยหลายครั้ง ทั้งในเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายขวาและขบวนการนักศึกษาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งทรงโปรดให้
พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และพลตรีจำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาลทหารเข้าเฝ้าและมีพระราชดำรัสต่อทั้งสองฝ่าย
ซึ่งนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งของพลเอกสุจินดาในเวลาต่อมา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปิดรับคำวิจารณ์จากสาธารณชน โดยในพระราชดำรัสเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ได้มีพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์พระองค์ได้ แม้จะมีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 อยู่ก็ตาม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 จนในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เสด็จสวรรคต เมื่อเวลา 15.52 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชย์สมบัติได้ 70 ปี
cr. https://goo.gl/OjwEUS
...............
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น