ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้รับการยืนยันข้อมูลจากแหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงาน ปปง. ถึงกรณีนี้ว่า ที่ดินดังกล่าวของนายศุภชัย จากการตรวจสอบเส้นทางการเงินของ ปปง. พบว่า นายศุภชัยใช้เงินที่ได้จากการยักยอกทรัพย์สินของสหกรณ์ฯนำไปซื้อ โดยมีที่ดินใน จ.นครราชสีมา และ จ.ปทุมธานี ก่อนที่ดีเอสไอจะตรวจสอบพบ และอายัดที่ดินดังกล่าวไว้ กระทั่งผู้เสียหายจำนวนหนึ่งเข้าร้องต่อดีเอสไอให้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย โดยให้นำที่ดินดังกล่าวไปขายเพื่อชดใช้หนี้
แหล่งข่าวระบุอีกว่า ในช่วงปี 2556 ปปง. และดีเอสไอ ได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินและเครือข่ายในการยักยอกทรัพย์สินของนายศุภชัยกับพวกคืบหน้าไปกว่า 80% แล้ว ซึ่งก็พบยอดมูลค่ากว่าเสียหายประมาณหมื่นล้านบาท อย่างไรก็ดีในการขายที่ดินดังกล่าว ซึ่งเป็นที่ดินที่นายศุภชัยยักยอกทรัพย์สินสหกรณ์ฯไปซื้อ กลับให้บริษัท พิษณุโลกเอทานอล จำกัด เป็นผู้ออกแคชเชียร์เช็คสั่งจ่ายให้บุคคลต่าง ๆ แต่คืนสหกรณ์ฯแค่ 100 ล้านบาท รวมถึงนายศุภชัยยังได้เงินคืนจากการขายที่ดินถึง 249 ล้านบาทด้วย แต่เมื่อตรวจสอบแคชเชียร์เช็คกลับปรากฏชื่อของนายณฐพร โตประยูร ที่ปรึกษาด้านกฎหมายประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน (นายศรีราชา วงศารยางกูร) ได้รับเงินดังกล่าวด้วย 60 ล้านบาท และไม่มีแคชเชียร์เช็คให้กับนายศุภชัยแต่อย่างใด ซึ่งในส่วนนี้ไม่ทราบว่ามีการตกลงขายกันอย่างไร ทั้งที่หาก ปปง. ต้องการจะตรวจสอบจริง ๆ ก็สามารถเชิญบริษัท พิษณุโลกเอทานอล จำกัด มาให้ถ้อยคำ และตรวจสอบการสั่งจ่ายเงินดังกล่าวได้
แหล่งข่าว ระบุด้วยว่า กรณีนี้มีเงื่อนงำบางอย่างที่น่าสงสัย เนื่องจาก ปปง. ให้พนักงานสอบสวนดีเอสไอไปดำเนินการขายที่ดินเอง ทั้งที่ตามระเบียบ ปปง. แล้ว จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขายทอดตลาด เพื่อประกาศให้สาธารณชนทราบ และมีการประมูลเพื่อเสนอราคาซื้อที่ดิน ทำให้มีการพูดกันทั้งใน ปปง. และดีเอสไอว่า อาจมีผู้บริหารระดับสูงบางรายในดีเอสไอได้รับผลประโยชน์หรือส่วนแบ่งในการขายที่ดินครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้มีรายงานข่าวจากดีเอสไอแจ้งว่า กรณีนี้ น.ส.สุวณา สุวรรณจูฑะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีดีเอสไอ (ปัจจุบันเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีการขายที่ดินดังกล่าวแล้ว แต่ผ่านมาปีเศษ เรื่องได้เงียบหายไป และยังไม่มีรายงานความคืบหน้าในการตรวจสอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณฐพร โตประยูร ที่ปรึกษาด้านกฎหมายประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน (นายศรีราชา วงศารยางกูร) ปรากฎชื่อได้รับแคชเชียร์เช็ค วงเงิน 60 ล้านบาท จากการขายที่ดินของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ในการดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดียักยอกทรัพย์สินของสหกรณ์ฯกว่าหมื่นล้านบาท
ขณะที่นายณฐพร ให้สัมภาษณ์กรณีนี้ว่า ได้รับเช็คดังกล่าวรวมวงเงิน 60 ล้านบาทจริง โดยเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในการขายที่ดิน มีลักษณะเป็นเหมือนค่านายหน้า
ส่วนนายศรีราชา ได้เรียกนายณฐพรเข้ามาชี้แจงกรณีดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ได้ปลดออกจากตำแหน่งที่ปรึกษา เนื่องจากนายณฐพรไม่ได้ทำอะไรผิด
กรณีข่าวนี้มีการวิเคราะห์ข่าวตามหลักความเป็นจริงจะพบว่า
1. คดีนี้ไม่มีเจ้าทุกข์แล้ว เพราะสหกรณ์กับศิษย์วัดพระธรรมกายไกล่เกลี่ยกันได้แล้ว และสหกรณ์ขอถอนฟ้องไปแล้ว แต่ DSI ก็ยังพยายามจะทำคดีคต่อ ขอถามว่า DSI ใช้กฎหมายข้อใดในการออกหมายเรียกและตั้งข้อกล่าวหาในคดีที่ไม่มีเจ้าทุกข์ ทำแบบนี้ผิดกฎหมายหรือไม่
2. DSI ปปง. และที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่เป็นคนกลางสืบสวนคดี แต่ทำไมปฏิบัติตนลงไปเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเจ้าหนี้คือสหกรณ์เสียเอง เพราะว่า
2.1) คดีของสหกรณ์ยังไม่จบ ทำไมถึงนำทรัพย์สินของผู้ต้องหาที่อายัดไว้ไปงุบงิบขาย ถ้าหากคดีพลิกขึ้นมาว่าไม่ได้ทำความผิดจะทำยังไง ทำแบบนี้ถูกกฎหมายหรือไม่
http://www.isranews.org/investigative/investigate-news-person/item/46395-ppng_46395dddmm.html
2.2) ขายได้เงินมาแล้ว 477 ล้าน ทำไมไม่คืนให้สหกรณ์ทั้งหมด กลับมาหักหัวคิวไว้ 249 ล้าน จ่ายค่านายหน้า 60 ล้าน แบ่งให้สหกรณ์ 100 ล้าน ทำแบบนี้ถูกกฎหมายหรือไม่
http://www.isranews.org/isranews-news/item/46268-supachai.html
2.3) สหกรณ์กำลังเดือดร้อนเรื่องเงินที่ขาดสภาพคล่อง ทำไม DSI ไม่ให้สหกรณ์เป็นผู้ขายทรัพย์สินเอง จะได้ไม่ต้องจ่ายค่านายหน้าและค่าคนกลาง DSI ทำกับทรัพย์สินผู้ต้องหาแบบนี้ถูกกฎหมายหรือไม่ เป็นการซ้ำเติมสหกรณ์ให้แย่ลงไปอีกหรือไม่
ขอถามว่าการที่ DSI ลงไปเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคดีสหกรณ์เสียเอง เป็นการทำผิดกฎหมายหรือไม่
3. ในเมื่อ DSI ปปง. และที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน ซึ่งเป็นผู้รักษามาตรฐานการใช้กฎหมายของบ้านเมือง กลายเป็นผู้ร่วมกันทำคดีของสหกรณ์แบบมีเงื่อมงำ ผิดขั้นตอน ไม่โปร่งใส และมีส่วนได้ส่วนเสียกับคดีเช่นนี้ จะให้ประชาชนเชื่อมั่นในระบบกฎหมายและวิธีใช้กฎหมายของ DSI ได้ยังไง
4. การที่ DSI กำลังพยายามดำเนินคดีกับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ทั้งที่คดีนี้ไม่มีเจ้าทุกข์ ถือว่าไม่เป็นธรรมกับลูกศิษย์วัดพระธรรมกายนับล้านคนทั่วโลกเป็นอย่างมาก
-------------------------------------------------
๒๒ เมษายน ๒๕๕๙
๑๓.๐๙ น.
Cr.Ptreetep
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น