วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


DSI ใช้ดุลพินิจทางฝ่ายปกครองที่ไม่เป็นธรรม
ละเมิดรัฐธรรมนูญ กรณีออกหมายเรียก พระเทพญาณมหามุนี

                      จากกรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว การออกหมายจับตามที่ DSIได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญานั้น ต้องคำนึงถึงมาตรา4 รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทย มีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้  การวินิจฉัยและตัดสินใจใช้มาตรการบังคับทางปกครองในการออกหมายจับ จึงอยู่ในบังคับของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ. 2550

มาตรา ๒๖ ซึ่งบัญญัติว่าการใช้อํานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคํานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๒๗ ซึ่งบัญญัติว่า สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือโดย คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้ง องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และ การตีความกฎหมายทั้งปวง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง

มาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า การจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กําหนดไว้และเท่าที่ จําเป็น และจะกระทบกระเทือนสาระสําคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นมิได้

 


DSI ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

                ซึ่งจากกรณีการที่พระธัมมชโย ได้มีอาการอาพาธอย่างเฉียบพลันและมีอาการที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจของสงฆ์ได้อย่างปกติซึ่งตามรัฐธรรมนูญ ได้รับรองสิทธิและเสรีภาพที่จะต้องได้รับการรักษาดูแลสุขภาพและร่างกายของตัวเองตามปกติที่วิญญูชนพึงได้รับ และตามคำแนะนำของแพทย์ที่ให้การดูแลรักษา ดังนี้หากมีคำสั่งให้ออกหมายเรียก ดังกล่าวจาก dsi ซึ่งได้เห็นเป็นประจักษ์ และมีใบรับรองแพทย์ 
รับรองอาการป่วยดังกล่าวที่ไม่ได้ดีขึ้น ตามคำขอเลื่อนหมายเรียกครั้งที่3 ของDSI หรือการร้องขอให้ศาลออกหมายจับ ทั้งที่ผู้ถูกออกหมายจับ ไม่ได้มีเจตนาหลบหนี ไม่ได้ทำให้คดียุ่งเหยิง และไม่ได้ก่อเหตุอันตรายประการอื่น อีกทั้งยังมีเหตุอันควรในการที่ไม่ไปตามหมายเรียก แต่ยังคงไม่ได้นำสาระสำคัญดังกล่าวมาพิจารณาในการออกหมายจับได้ ทั้งที่เห็นเป็นประจักษ์อยู่แล้ว ถือเป็นการกระทำต่อมนุษย์ให้เหมือนสัตว์หรือสิ่งของอันเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์โดยมิได้คำนึงถึงสิทธิในชีวิตและร่างกายซึ่งรัฐธรรมนูญได้ให้การรับรองไว้โดยชัดแจ้งอยู่แล้ว ว่ากฎหรือคำสั่งใดจะตามที่กฎหมายบัญญัติ และตามที่รัฐธรรมนูญบัญัติไว้ จะละเมิดสาระสำคัญแห่งสิทธิไม่ได้  ตามมาตรา29 รัฐธรรมนูญ2550 ประกอบมาตรา4รั ฐธรรมนูญ(ชั่วคราว) 2557 อีกทั้งเมื่อเป็นการออกคำสั่งจากหน่วยงานที่ใช้อำนาจจะต้องยึดหลักของการได้สัดส่วนในการออกกฎหรือคำสั่งด้วยดังนี้คือ

1.หลักความสัมฤทธิ์ผล ซึ่งในการออกหมายจับต้องเป็นการทำตามจุดประสงค์หรือตามเจตนารมณ์ของการออกหมายจับว่าเป็นการ ป้องกันไม่ไห้ผู้ถูกหมายจับหลบหนี หรือได้ทำให้เกิดความยุ่งเหยิงของคดี ซึ่งการออกหมายจับต้องกระทำให้สัมฤทธิ์ผลด้วยแต่การขอออกหมายจับพระธัมมชโยนั้นไม่ได้ทำให้สัมฤทธิ์ผลเพราะไม่ได้เข้าหลักเกณฑ์ตามเจตนารมณ์ของการออกหมายจับ  แต่มีความมุ่งหมายที่จะใช้มาตรการการออกหมายจับนั้นเป็นเครื่องมือในการดำเนินเพื่อให้เกิดผลอย่างอื่นนอกเหนือไปจากผลที่กฎหมายให้อำนาจ แก่ศาลประสงค์จะให้เกิดขึ้นจึงเข้าข่ายเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ

2.หลักความจำเป็น แม้ในการออกหมายจับดังกล่าวจะสัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมณ์ของการออกหมายจับก็ตามแต่ยังต้องอยู่ภายใต้หลักความจำเป็นกล่าวคือ เมื่อมีมาตรการทางปกครองดังกล่าวแล้วจะต้องมีการกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไม่มากก็น้อยดังนี้จะต้องใช้วิจารณญาณที่จะใช้มาตรการดังกล่าวที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชนน้อยที่สุด เห็นได้ว่าการออกหมายจับพระธัมมชโย ซึ่งกำลังอาพาธอย่างรุนแรงซึ่งไม่ถือเป็นการใช้มาตรการที่กระทบสิทธิและเสรีภาพน้อยที่สุดเพราะ  ยังสามารถ ให้เลื่อนการออกหมายเรียก ดังกล่าวไปได้อีก หรือ ให้ทางDSI เข้าพบพระธัมมชโยที่วัดพระธรรมกายซึ่งทางพระธัมมชโย มิได้ขัดข้องแต่ประการใด แต่ทั้งนี้การเข้าไปแจ้งข้อกล่าวหาจำเป็นต้องคำนึงถึงสุขภาพร่างกายของพระธัมมชโยด้วยว่าพร้อมหรือไม่

3.หลักความได้สัดส่วนอย่างแคบ กล่าวคือ แม้การออกหมายจับจะสัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมณ์ของการออกหมายจับ และ มีความจำเป็น  ก็ตาม การที่มาตรการทางฝ่ายปกครองดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับโดยชอบด้วยกฎหมายจะต้องผ่านหลักความได้สัดส่วนอย่างแคบด้วยคือต้องพิจารณาว่าการออกหมายจับนี้ต้องมีประโยชน์ต่อมหาชนมากกว่าความเสียหายอันเกิดขึ้นแก่เอกชน ในกรณีดังกล่าวนอกจากไม่เป็นการก่อประโยชน์ให้แก่หมาชนแล้วยังถือเป็นการสร้างความเสียหายให้แก่มหาชนเพราะหากศาลออกหมายจับตามคำร้องของdsiแล้วนั้นหมายความว่าเป็นการสร้างบรรทัดฐานในการใช้ดุลพินิจในการออกหมายจับโดยไม่ได้คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ว่าผู้ถูกออกหมายจับจะเจ็บป่วย หรือ มีเหตุอันตามข้อเท็จจริงใดควรจะได้รับการพิจารณาประกอบการใช้ดุลพินิจ เผื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกออกหมายเรียก อีกทั้งเป็นการออกมาตรการโดยไม่คำนึงสาระสำคัญแห่งสิทธิที่รัฐธรรมนูญ ได้รับรองไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งประกอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเอกชน คือพระธัมมชโยด้วยแล้ว ทำให้มาตรการดังกล่าวไม่เข้าหลักความได้สัดส่วนอย่างแคบอันจะใช้บังคับไม่ได้ตาม มาตรา29ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี2550

 DSI กระทำการขัดหลักรัฐธรรมนูญ มาตรา 29

จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการออกหมายจับโดยคำร้องของ DSI นั้นขัดกับหลักความได้สัดส่วนในการออกกฎหรือคำสั่ง ตามมาตรา 29 รธน.50 ดังนี้

1.ขัดการหลักสัมฤทธิ์ผล คือ พระธัมมชโยไม่ได้หลบหนี หรือเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานในคดี แต่มาตามหมายเรียกไม่ได้เพราะป่วยอย่างรุนแรง ซึ่งเจตนารมณ์ของการออกหมายจับคือ ป้องกันไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหาหลบหนี หรือเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานในคดี และไม่ได้มีพฤติการณ์ก่อเหตุร้ายประการอื่น ถือเป็นการใช้กฎหมายให้มีผลเป็นอย่างอื่นไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของการออกหมายจับ ตามมาตรา66แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

2.ขัดกับหลักความจำเป็น คือ DSIไม่จำเป็นต้องขอออกหมายจับ เพราะพระธัมมชโย ไม่ได้หนีและอาพาธอย่างรุนแรง ควรจะให้เลื่อนตามคำขอเลื่อน หรือเข้ามาพบพระธัมมชโยที่วัดพระธรรมกาย อันเป็นมาตรการที่กระทบสิทธิ และเสรีภาพในการดูแลรักษาร่างกายของพระธัมมชโย น้อยกว่าการออกหมายจับ

3.ขัดกับหลักความได้สัดส่วนอย่างแคบ คือ การขอออกหมายจับพระธัมมชโย จะต้องมีประโยชน์ต่อมหาชนมากว่าความเสียหายต่อพระธัมมชโยจะได้รับ แต่กรณีตามข้อเท็จจริง การออกหมายจับพระธัมมชโยกลับเป็นการสร้างบรรทัดฐานการใช้กฎหมายที่ละเมิด ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ อันเป็นสาระสำคัญแห่งสิทธิของรัฐธรรมนูญที่จะต้องรักษาไว้สูงสุด กล่าวคือ ประชาชนเมื่อมีข้อพิพาทกับองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐจะไม่ได้รับความคุ้มครองถึงสาระสำคัญแห่งสิทธิที่รัฐธรรมนูญรับรอง

               


ประมวล วิ.อาญา ให้สิทธิผู้ป่วยในการรักษาตัว

นอกจากนี้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา7/1 บัญญัติว่า ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรกและให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย

     (๑) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

     (๒) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน

     (๓) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร

     (๔) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

                ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง

จากกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าในกรณีที่มีการจับกุมแล้ว ตามมาตรา7/1(4) ยังยึดหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ให้ผู้ต้องหาได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย ซึ่งเทียบเคียงกับกรณีของพระธัมมชโยที่ยังไม่ได้ตกเป็นผู้ต้องหาในคดี แต่ไม่มีสิทธิ์ในการดูแลรักษาตัวเอง อันเป็นการออกหมายจับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

 DSI ต้องยึดหลักความเสมอภาค
ดังนั้น กรณีการออกหมายจับดังกล่าวจะต้องยึดหลักความเสมอภาค อันเป็นสาระสำคัญแห่งสิทธิที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ตามมาตรา4 ของรัฐธรรมนูญ(ชั่วคราว)2557 กล่าวคือ รัฐต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่มีสาระสำคัญเหมือนกันให้เหมือนกันและจะต้องปฏิบัติต่อบุคคลที่สาระสำคัญต่างกันให้แตกต่างกันออกไป ซึ่งในกรณีของพระธัมมชโย เป็นบุคคลที่กำลังอาพาธอย่างร้ายแรง ซึ่งตามปกติแล้วคนป่วยย่อมมีสิทธิที่ต้องได้รับการรักษาดูแลจนปกติก่อน ถึงจะเข้ามาในกระบวนการยุติธรรมได้ ตามมาตรา7/1อนุ4แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแต่ในกรณีพระธัมมชโย ซึ่งมีสาระสำคัญคือการป่วยเหมือนกันกับบุคคลอื่นๆ ทั่วไป แต่กลับได้รับการปฏิบัติในการออกหมายจับต่างกัน ดังนั้น DSI ต้องยกเลิกคำสั่งออกหมายเรียกพระธัมมชโย มิฉะนั้น จะกลายเป็นว่า DSI ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่รัฐทำผิดหลักรัฐธรรมนูญเสียเอง



----------------------------



ทันธรรม วงษ์ชื่น

นักวิชาการอิสระ





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Unordered List

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โพสต์แนะนำ

ภูติ ผี ปีศาจ เเตกต่างกันอย่างไร

                ภูติ ผี ปีศาจ เป็นคำที่เราเคยได้ยินได้ฟัง มาตั้งเเต่ยังเด็ก เเม้กระทั่งละคร ภาพยนต์ต่างๆก็จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้...

Popular Posts

Text Widget