วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การผสมปูนสมัยนั้นรถโม่ตัวใหญ่ๆ หลวงพี่ไม่ใช้เลย
หลวงพี่ใช้โม่เล็กจำนวน 4 ตัว  โม่ตัวเล็กๆนี้เองช่วยให้ได้คุณภาพอย่างที่ต้องการ  ที่หลวงพี่ไม่ใช้โม่ตัวใหญ่เพราะว่าเป็นการผสมเเบบสำเร็จรูป ทำให้ความสะอาดไม่ได้ตามมาตราฐานของเรา
คุณภาพของหินของทราย สู้ที่เราไปเลือกมาเองไม่ได้

หินที่ใช้สร้างโบสถ์ต้องไปเลือกถึงโรงโม่หินที่สระบุรี หินจาก 20 กว่าโรง มีอยู่โรงหนึ่งที่เป็นหินตรงตามที่เราต้องการ คือมีความสะอาด ไม่มีลูกรัง  ไม่มีหินผุ ไม่มีรากไม้ หินของเจ้านี้ใช่ จึงเลือกใช้หินจากโรงโม่เเห่งนี้
   ทรายที่จะใช้ก็เช่นเดียวกัน ต้องไปเสาะหาคัดเลือก เดินทางไปกาญจนบุรีจะมีท่าทราย บ่อทรายตลอดเส้นทางถึง 20 กว่าเเห่ง ดูความสะอาดของทราย ดูลักษณะรูปร่างของเม็ดทรายว่าสวยไม่สวย ก็ยังไม่เจอทรายที่ต้องการ ต้องเดินทางผ่านเข้าไปในเมือง ทะลุออกไปอีกไกลจนไปเจอทรายที่ต้องการ ทั้งสะอาดเเละเม็ดทรายสวย นึกถึงคำพูดที่บอกว่าผู้หญิงสวย ผู้ชายสวย เราพอจะทราบว่าเป็นอย่างไรเเต่พอบอกว่าเม็ดทรายสวย คนส่วนใหญ่ดูไม่เป็น เเต่เราดูเป็นเพราะเราจับทรายสวยๆ เหล่านั้นมากับมือ หินสวยๆก็เช่นกัน
    ทรายที่สวยๆเม็ดทรายจะมีคมเป็นสี่เหลี่ยมเเละมีความหยาบในระดับหนึ่ง ทรายที่สะอาดต้องไม่มีเปลือกหอย ไม่มีพวกสิ่งสกปรก พวกใบไม้ หรือกิ่งไม้ผสมมาด้วย
เมื่อเอาน้ำไหลผ่านทราย น้ำก็จะสะอาดไม่เป็นโคลน ถ้าเอามือช้อนทรายขึ้นมาถูกันเเล้วปล่อย ทรายจะต้องไม่ติดมือเเละจะต้องไม่มีโคลนติดอยู่ที่มือด้วย ถ้าทรายมีขี้โคลนพอถูเเล้ว ทรายจะยังติดมือ เลยไม่ยอมหล่น  น้ำที่เราใช้ผสมคอนกรีตเป็นน้ำบาดาลของเรา เป็นน้ำที่ดื่มได้ หินสะอาด ทรายสะอาด น้ำสะอาด ปูนซีเมนต์ละลายน้ำเเล้วจะเคลือบหินได้รอบด้าน หินต้องเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือต้องมีลักษณะกลม ถ้าหินยาวๆหักง่ายรับเเรงหน่อยก็หักล้าง เมื่อผสมปูนเข้าไปในสัดส่วนที่พอดีเเล้ว หินกับทรายจะถูกเคลือบด้วยปูน ถ้ามีดินเข้าไปอยู่ในหินในทราย เวลาปูนเข้าไปก็จะจับไม่ถูกเม็ดทราย จับไม่ถูกเม็ดหิน เเต่ไปจับติดโคลน ฉะนั้นเวลารับเเรง พวกขี้โคลนที่ปูนซีเมนต์หุ้มอยู่จะร่อนออก ทำให้งานของเราไม่เเข็งเเรง
  นอกจากความสะอาดเเล้ว ยังมีเรื่องส่วนผสมด้วย หินใหญ่เป็นก้อนๆพอมารวมกัน เเละเเต่ละก้อนมีช่องว่างอยู่ ช่องว่างใหญ่ๆเราต้องเอาหินเล็กหน่อยใส่ลงไป เเล้วจากหินเล็กที่เเทรกในหินใหญ่ก็ยังมีช่องว่างที่ขนาดเล็กๆอีก  คราวนี้เราก็จะเอาทรายใส่ลงไปในนั้น ฉะนั้นใส่ทุกอย่าง ใส่ให้เเน่น ไม่ให้มีช่องว่าง ไม่ให้มีฟองอากาศ โดยใช้ไม้กระทุ้ง ใช้เหล็กกระทุ้งให้เเน่น เพื่อไล่อากาศออก ปัจจุบันทันสมัยหน่อยจะใช้เครื่องมือจี้ลงไปเเล้วมันจะสั่น
   การจี้ก็ต้องพอดี จี้มากไปก็ไม่ได้ จี้น้อยไปก็ไม่ได้ ดังนั้นเวลาเราทำงานต้องทำเป็นทีมเวิร์ค เเบบต้องดี ไม้เเบบช่างเเบบต้องทำให้ดี คนจี้ก็ต้องจี้ให้ดี อย่าจี้ไปเเล้วมีช่องทางให้น้ำปูนไหล ถ้าน้ำปุ่นไหล หินก็มีน้ำปูนมาเคลือบน้อยลง ทรายมีน้ำปูนเลือบน้อยลง ต้องไม่ไหลต้องอุดให้เเน่น
   เวลาฝนตกการเทคอนกรีตต้องเทอีกเเบบหนึ่ง หน้าฝนอากาศมันชื้น เวลาผสมในโม่เราต้องลดน้ำ เเล้วเวลาเเดดออกเปรี้ยงๆอย่างตอนบ่ายต้องเทอีกเเบบหนึ่ง ต้องเติมน้ำมากกว่าเดิมเผื่อน้ำระเหย
ต้องคอยพรมน้ำตาม เติมมากก็ไม่ได้ น้อยก็ไม่ดี ตอนกลางคืนไม่มีเเดด ส่วนผสมต้องอีกอย่างหนึ่ง เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ต้องเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนเเละใส่ความประณีตลงไปด้วย
  ทำการทดสอบ
หลวงพี่นำคอนกรีตไปทำการทดสอบความเเข็งเเรงเป็นร้อยเป็นพันลูก เดินถือไปทดสอบที่คณะวิศวะฯมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีคนนำคอนกรีตที่ทำตึกเเถวมาทดสอบเช่นกัน เขาถือมาหลายลูก เดินสวนกับหลวงพี่ ระหว่างที่เดินสวนกัน คอนกรีตของเขาร่วงลงพื้นเเตกเลย เเค่หล่นก็เเตกเเล้ว ส่วนของหลวงพี่เข้าทำการทดสอบ อัดเเรงเครื่องกดไฮดรอลิกส์(Hydraulics)ขนาดร้อยตัน อัดไม่เเตก
จนกระทั่งอาจารย์ที่คุมห้องเเล็ปทดลองบอก"หลวงพี่ครับเครื่องจะพัง ร้อยตันเเล้ว ยังอัดไม่เเตก ผมกลัวเครื่องผมจะพัง งานของหลวงพี่เกินสเป๊คเเล้วครับ"
   ตามทฤษฏีบอกว่า หินต้องสะอาด ทรายต้องสะอาด น้ำต้องสะอาด ปูนซีเมนต์ต้องได้สัดส่วน ทฤษฎีเขาว่าเเบบนี้ เเต่เมื่อปฏิบัติจริง จะไม่ได้ตามทฤษฏี เพราะหินสกปรก ทรายสกปรก น้ำสกปรก ผลงานที่ออกมามันก็เเตกไม่เเข็งเเรง ไม่ได้ตรงตามทฤษฎี
   หลวงพี่ลองนำไปทดสอบต่อที่คณะวิศวะฯของสถาบันเอไอที(AIT) ที่นั่นเขามีเครื่องอัดน้ำหนักขนาด 500 ตัน ถึงจะอัดเเตกวัดผลได้
  คนงานที่ช่วยผสมปูน หลวงพี่ฝึกจนมีความชำนาญ เมื่อบอกภาษาช่างกับเขาว่าต้องการให้ผสมน้ำมากหรือน้อย บอกเเค่ต้องการสลัมฟ์เท่าไหร่(Slump Test เป็นการทดสอบความข้นเหลวของคอนกรีต) เขาก็ผสมให้หลวงพี่ได้ใกล้เคียงมากเลย ซึ่งกว่าจะฝึกคนงานที่ผสมคอนกรีตได้อย่างที่ต้องการก็ไม่ใช่ง่าย ปัจจุบันนี้ต่างคนก็ต่างไปเป็นเถ้าเเก่กันหมดเเล้ว
   ผลงานของเราสูงกว่ามาตราฐานเยอะมากเลย เยอะมากๆอาศัยความสะอาดที่หลวงพี่อเเละคุณยายสอนมาอย่างเดียวไม่ต้องไปซื้อน้ำยาเคมีมาผสมช่วยเลย อาศัยความสะอาดอย่างเดียว
   ดังนั้นถ้าสมมุติว่าจะต้องสร้างโบสถ์อีก หลวงพี่จะไม่ใช้โม่ตัวใหญ่เเบบที่ผสมสำเร็จ หลวงพี่จะใช้โม่ตัวเล็กๆอย่างที่ใช้สร้างโบสถ์นี้ ค่อยๆโม่ทีละโม่  ช้าหน่อยเเต่เราจะได้งานที่มีคุณภาพเเละได้ความปลื้มปิติ ภาคภูมิใจ

เรื่องเล่าจากพระครูปลัดภูเบส ฌานาภิญฺโญ
สโตร์หน้าวัด The Store Story หน้า 130-133
หมายเหตุ:  พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (ภูเบศ ฌานาภิญฺโญ)ท่านเป็นผู้หนึ่งในยุคบุกเบิกสร้างวัดพระธรรมกาย
ปัจจุบันท่านมีตำเเหน่งเป็นที่ปรึกษาอาวุโส,เป็นกรรมการมูลนิธิธรรมกาย ,ประธานคณะกรรมการศูนย์กลางธรรมกายเเห่งโลก(WDC) เเละเป็นผู้อำนวยการสำนักสาธารณูปการของวัดพระธรรมกาย




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Unordered List

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โพสต์แนะนำ

ภูติ ผี ปีศาจ เเตกต่างกันอย่างไร

                ภูติ ผี ปีศาจ เป็นคำที่เราเคยได้ยินได้ฟัง มาตั้งเเต่ยังเด็ก เเม้กระทั่งละคร ภาพยนต์ต่างๆก็จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้...

Popular Posts

Text Widget