วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560



จากการประชุมของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญในเดือนมกราคม  ปี2559 หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงในที่ประชุมคือ การไม่บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ โดยได้มีการคัดค้านเเละยกเหตุผลต่างๆ มายับยั้ง อันเป็นชนวนเหตุทำให้มีผลต่อการปลูกฝังศีลธรรมของคนในชาติ เเม้จะพึ่งผ่านไปได้เพียงปีเดียว ก็เห็นเหตุของความวุ่นวายในสังคมที่ขาดศาสนาประจำชาติอย่างศาสนาพุทธค้ำจุนได้ชัดเจน มาย้อนเหตุการณ์สำคัญนี้อีกครั้ง เเล้วจะกระจ่างใจ หรือยังคงข้องใจ
คุณอุดม รัฐอมฤต โฆษกกรรมธิการร่างรัฐธรรมนูญ แถลงความคืบหน้าการร่างรัฐธรรมนูญที่ชะอำว่า ในหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งพระพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกเเละที่ประชุมยังเห็นชอบว่า จะไม่บัญญัติให้ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ เห็นว่าหากใส่ถ้อยคำดังกล่าวไว้ จะเป็นอันตรายในระยะยาว


"ผมไม่รู้ว่ากรรมธิการร่างรัฐธรรมนูญชุดนี้กลัวอะไร และอะไรคืออันตรายในระยะยาว"


การบัญญัติให้ ศาสนาที่มีคนส่วนใหญ่ในประเทศนับถือ เป็นศาสนาประจำชาติ ทุกประเทศก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย หรืออันตรายแต่อย่างใด มีรายงานการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.โรเบริ์ต เจ. บาร์โร ระบุว่า มีถึง 58 ประเทศในโลกที่มี การบัญญัติ ศาสนาประจำชาติ ไว้ในรัฐธรรมนูญ และก็ไม่มีคนในศาสนาอื่นในประเทศเหล่านี้ต่อต้านแต่อย่างใด เพราะรู้ดีว่า ศาสนาดั้งเดิมของคนส่วนใหญ่ในประเทศนั้นคืออะไร ย่อมที่จะให้เกียรติเจ้าของประเทศ

คุณมีชัย ฤชุพันธุ์  ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญไปค้นข้อมูลดูได้ พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ราวพ.ศ. 236 สมัยเดียวกับที่เข้าไปเผยแผ่ใน ศรีลังกา จากพระธรรมฑูต 9 สาย ที่พระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดียที่ส่งออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประเทศไทยสมัยนั้นยังรวมอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ จาก พ.ศ. 236 ถึง พ.ศ. 2559 พุทธศาสนาก็อยู่ในดินแดนไทยมานานถึง 2,323 ปีแล้ว แล้วกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญไปกลัวอะไร จึงไม่กล้าบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
จากรายงาน การสำรวจภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ส. 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ประชากรของประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 94.6 นับถือ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 4.6 และนับถือ ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 0.7 ที่เหลือคือผู้ที่นับถือศาสนาอื่นๆและผู้ที่ไม่มีศาสนา


ในงานการวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.โรเบิร์ต เจ.บาร์โร ระบุว่า ประเทศที่ระบุศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มอิสลาม กลุ่มคริสเตียน และลักธิเก่าในยุโรป  กลุ่มพุทธและฮินดู โดย กลุ่มอิสลาม จะระบุชัดเจนไว้ในรัฐธรรมนูญเลยว่า  Islam is the religion of state หรือ The religion of the State is Islam ศาสนาอิสลามคือ ศาสนาประจำชาติ
ความจริง ชาวพุทธ เมื่อเทียบกับศาสนาอื่น ถือว่ามีจำนวนน้อยมาก เพียง 6 เปอร์เซ็นต์ของพลเมืองโลกเท่านั้นเอง

ประเทศที่เคร่งในพุทธศาสนาที่สุดคือ ภูฏาน รัฐธรรมนูญของภูฏานเรียกกันว่า Buddhist Constiution เลยทีเดียว เพราะมีการบัญญัติถึงกระบวนการแต่งตั้ง พระสังฆราชในรัฐธรรมนูญด้วย



รัฐธรรมนูญภูฏาน บัญญัติไว้ว่า ศาสนาพุทธคือมรดกทางจิตวิญญาณของภูฏาน ซึ่งส่งเสริมหลักการและคุณค่าของสันติภาพ ความไม่รุนแรง ความเมตตา และความอดกลั้น
อีกประเทศหนึ่งที่มีการบัญญัติพุทธศาสนาไว้ในรัฐธรรมนูญ ก็คือ ศรีลังกา
โดยบัญญัติว่า สาธารณรัฐศรีลังกาจะยกศาสนาพุทธไว้ในที่สูงสุด และโดยนัยนี้ เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องปกป้องและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก็ให้ความมั่นใจว่า ทุกศาสนาจะมีสิทธิตามมาตรา 10 และมาตรา 14...


แม้แต่ ลาว ที่ปกครองในระบบคอมมิวนิสต์ ก็ยังบัญญัติว่า รัฐเคารพและปกป้องกิจกรรมอันถูกต้องตามกฏหมายของชาวพุทธ และผู้นับถือศาสนาอื่น ส่งเสรมิพระสงฆ์ในศาสนาพุทธ รวมทั้งพระในศาสนาอื่น โดยระบุชื่อ ศาสนาพุทธ อย่างชัดเจน
ก็ในเมื่อคนไทยเกือบ 70 ล้านคน เป็นชาวพุทธถึง 94.6 % หรือกว่า  66 ล้านคน แล้ว กรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ไปกลัวอะไร จึงไม่กล้าระบุไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ฟังเหตุผลแล้วมันทะแม่งฟังไม่ขึ้นนะ


 ลมเปลี่ยนทิศ




วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์อันน่าเศร้าภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2011 ณ จังหวัดฟุกุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น
เป็นเหตุทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีออกมา และถือว่าเป็นภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่เชอร์โนบิลในปี 1986

สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาต่อจากนั้นก็คือ ความเกลียดชังของผู้คนรอบข้างที่มีต่อจังหวัดฟุกุชิมะและชาวบ้านที่อยู่อาศัยเติบโตภายในจังหวัดนี้ ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่ได้เป็นคนเลือกให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และไม่อยากให้เกิดความหายนะเช่นนี้ด้วย
เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนักถึงความเกลียดชังที่เกิดขึ้นในใจของชาวญี่ปุ่น Ruzo Maoma อายุ 15 ปี นักเรียนชั้นมัธยมปี 3 ได้ส่งเรียงความเรื่อง ‘ปฏิเสธตัวตนของจังหวัดฟุกุชิมะ’ เข้าประกวดในงาน การเขียนเรียงความสิทธิมนุษยชนจากนักเรียนชั้นมัธยมต้นทั่วประเทศครั้งที่ 36 โดยมีใจความดังต่อไปนี้

ปฏิเสธตัวตนของจังหวัดฟุกุชิมะ


 นี่เป็นเรื่องที่ทำให้ฉันช็อคมาก สำหรับการเป็นคนจังหวัดฟุกุชิมะอย่างฉัน ฉันเกิดและเติบโตในเมืองมินะมิโซมะ จังหวัดฟุกุชิมะ จนถึงกระทั่งชั้น ป. 3
เมื่อพูดถึงเมืองมินะมิโซมะ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางด้านเทศกาลและวัฒนธรรม ให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ในอดีตมาอย่างช้านาน
ฉันรักผู้คนและเมืองมินะมิโซมะในแบบที่เป็นอยู่อย่างนี้…
แต่ทว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เกิดเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดเนื่องจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และนั่นก็ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
เพราะสารกัมมันตรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมา ทำให้เมืองมินะมิโซมะกลายเป็นเมืองที่ผู้คนอยู่อาศัยไม่ได้อีกต่อไป และตัวฉันเองก็ต้องย้ายหลบภัยไปอยู่กับญาติพร้อมกับครอบครัวที่จังหวัดโทะชิงิแทน
เมื่อไปถึงที่นั่น ก็พบกับข้อความสติ๊กเกอร์บนรถยนต์คันหนึ่ง ในลานจอดรถร้านค้าที่แวะข้างทางว่า ‘ไม่ยอมรับคนจากจังหวัดฟุกุชิมะ’
หลังจากที่เห็นข้อความนั้น มันทำให้ฉันรู้สึกหวั่นใจในสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป จนเกิดเป็นคำถามในใจว่า ‘นี่มันอะไรกัน’ และฉันก็รู้สึกเศร้าเมื่อเข้าใจในความหมายของมันแล้ว
แม้จะผ่านมาเป็นเวลาร่วม 5 ปีกว่าแล้ว
ความเกลียดชังและอคติที่มีต่อจังหวัดฟุกุชิมะยังไม่จางหายไปเสียทีเดียว
เพื่อนคุณยายของฉันได้เดินทางนำสิ่งของไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในจังหวัดคุมาโมโตะ ทั้งๆ ที่ฟุกุชิมะกับคุมาโมโตะไม่ได้ใกล้กันเลย
แต่ทว่ากลับถูกปฏิเสธต่อหน้าด้วยประโยค
พวกเราไม่ต้องการสิ่งของที่มาจากฟุกุชิมะ’
อาจจะเป็นเพราะว่าคนในพื้นที่นั้นเกรงกลัวสารกัมมันตรังสี
อย่างไรก็ตามสำหรับผู้ที่ประสบภัยพิบัติในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ ทั้งๆ ที่ทุกคนก็เป็นชาวญี่ปุ่นเหมือนกัน ทำไมถึงกล้าพูดถ้อยคำที่ไม่ถนอมน้ำใจและไร้สาระสิ้นดีเฉกเช่นนี้ออกมาได้
แต่ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งของเหล่านั้นไม่ได้ถูกมอบให้ที่นั่น แต่กลับส่งมอบให้ที่อื่นแทน ซึ่งเมื่อฉันได้ยินเรื่องราวเหล่านั้นมันทำให้รู้สึกย่ำแย่ในจิตใจ เพียงเพราะข่าวลือกัมมันตรังสีในจังหวัดฟุกุชิมะยังคงถูกกล่าวขานต่อไปเรื่อยๆ
ถ้าหากว่าเมืองและผู้คนที่ฉันเติบโตมาด้วยกันถูกปฏิเสธตัวตนแบบนี้ ฉันรู้สึกว่าชีวิตของฉันก็ถูกปฏิเสธไปด้วยเช่นเดียวกัน
จากเหตุแผ่นดินไหวในครั้งนั้น ฉันไม่กล้าที่จะพูดถึงความรู้สึกของตัวเองให้คนอื่นฟังอีกเลย นั่นเป็นเพราะว่าฉันกลัวถูกคนที่มีอคติต่อคนจังหวัดฟุกุชิมะมองในแง่ร้าย แต่ทว่าฉันก็พบกับจุดเปลี่ยนความคิดอีกครั้ง
ย้อนกลับไปเมื่อตอน ป.5 ฉันได้ย้ายมาเรียนที่เมืองโอนะงะวะ จังหวัดมิยะงิ ซึ่งการย้ายมาอยู่ในสถานที่แปลกใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย อีกทั้งยังคงกังวลภายในใจกับสิ่งที่จะต้องเผชิญต่อไป
ฉันถึงกับคิดว่าผู้คนจะมองฉันในแง่ร้าย เป็นคนไม่ดี เพียงเพราะว่ามาจากจังหวัดฟุกุชิมะ…
หลังจบการแนะนำตัวหน้าชั้นเรียนและกลับมานั่งที่โต๊ะของตัวเองภายในห้องเรียน นักเรียนรอบข้างฉันนั้นเป็นเด็กผู้ชายหมดเลย และมีหนึ่งในนั้นถามขึ้นมาว่า ‘เธอมาจากฟุกุชิมะอย่างงั้นเหรอ?’
คำถามง่ายๆ แต่ทำให้รู้สึกแย่ยิ่งกว่าสิ่งใด และยิ่งไปกว่านั้นกังวลว่าถ้าบอกไปแล้วจะเกิดอะไรตามขึ้นมาอีกรึเปล่า
อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่ฉันคิด เพราะเป็นคำพูดที่ว่า ‘เธอคงจะลำบากมากเลยนะ’
และคนอื่นก็เสริมขึ้นมาว่า ‘พวกเรามาเป็นเพื่อนกันมั้ย ไปเล่นด้วยกันเถอะ’ ซึ่งมันทำให้ฉันรู้สึกดีด้วย
สำหรับเมืองโอนะงะวะเองก็ประสบกับภัยพิบัติแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงเช่นกัน เพื่อนของฉันสูญเสียทั้งบ้านและครอบครัวไปกับคลื่นซึนามิ แต่พวกเขาก็ยังคงใช้ชีวิตต่อไปด้วยความร่าเริง ทำให้ฉันรู้สึกว่าผู้คนที่นี่เข้มแข็งมากๆ
แต่ในขณะเดียวกันที่ตัวฉันเองคิดว่าบอบช้ำมากแล้ว คนเหล่านี้ลำบากกว่าฉันอีกหลายเท่าตัว จนทำให้ฉันรู้สึกละอายใจตัวเองเหลือเกิน
ผู้คนในโอนะงะวะเข้มแข็งจริงๆ และพวกเขาก็ช่วยเหลือฉันหลายครั้งหลายครา
และสิ่งที่ฉันได้รับมาทั้งหมดนี้ก็คือ ‘อคติ’ และ ‘ความเห็นอกเห็นใจ’
อคติ คือ การตัดสินสิ่งรอบข้างภายใต้ความคิดของตัวเองเพียงคนเดียว
ฉันคิดว่ามันเป็นการกระทำที่เห็นแก่ตัวมาก โดยที่ไม่สนใจความรู้สึกของอีกฝ่ายเลย อย่างเช่นในเวลาที่คุณจะต้องพบปะกับผู้อื่น คุณจะมีอคติเกิดขึ้นในใจบ้างรึเปล่า
‘คนนั้นเป็นคนโง่เพียงเพราะทำคะแนนสอบได้ไม่ดี’ หรือ ‘คนนั้นเป็นคนที่เข้าถึงยากเพียงเพราะเขาไม่ค่อยพูดคุยกับใคร’
อคติเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ เวลาที่เรามองคนอื่น เพียงแต่ว่าจะมีเล็กน้อยหรือมากแค่ไหน
แต่สำหรับอคติที่มีมากจนบดบังทุกสิ่ง มันสามารถทำร้ายจิตใจคนได้โดยที่เราเองไม่เคยรู้ตัวเลย
ในทางตรงกันข้าม ‘ความเห็นอกเห็นใจ’ คือการเข้าใจความรู้สึกของอีกฝ่ายที่มี อย่างที่ฉันได้ย้ายมาที่โอนะงะวะ ก็มีเพื่อนที่เข้าใจในตัวฉัน
การที่พวกเขาเข้าใจในความเจ็บปวดของฉัน เหมือนดั่งความเจ็บปวดของตัวเอง และพร้อมที่จะก้าวข้ามมันไปด้วยกันนั้น
ทำให้ฉันรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่งและด้วยเหตุนี้เอง
ถ้าหากใครซักคนหนึ่งกำลังเจ็บปวด ฉันก็พร้อมที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือพวกเขาในฐานะที่เป็นเพื่อนมนุษย์เฉกเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้นแล้ว ฉันอยากจะช่วยเหลือผู้คนที่ทุกข์ทรมาน เหมือนดั่งตัวฉันเองที่ได้รับความช่วยเหลือจากผู้คนรอบข้าง ต่อจิตใจที่มัวหมองให้กลับมาต่อสู้ได้อีกครั้ง


Ruzo Maoma



จากการประกวดเรียงความสิทธิมนุษยชนดังกล่าว ซึ่งมีโรงเรียนทั้งหมด 7,338 โรงเรียน ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 972,553 หัวข้อ
และเรื่อง ‘ปฏิเสธตัวตนของจังหวัดฟุกุชิมะ’ ก็ทำให้ Ruzo Maoma ชนะการประกวดและได้รับรางวัลจากสำนักกฎหมายเซนได เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2016 ที่ผ่านมา

ที่มา : ishinomaki.kahoku, ishinomaki.kahoku(2), moj, brandnew-s

วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เชื่อว่าหนึ่งในปัญหาที่จากการเดินทางด้วยเครื่องบินที่คนส่วนใหญ่มักจะเจอกันก็คือ… ความรู้สึกเหนื่อยล้าหลังการเดินทาง โดยเฉพาะไฟลท์ไหนที่นานๆ ด้วยแล้ว พยายามจะหลับบนเครื่องทีไรก็หลับไม่ลงซักที
วันนี้เราจะแนะนำให้รู้จักกับ 9 เทคนิคที่จะช่วยให้หลายๆ คน ไม่ต้องรู้สึกเหนื่อยล้า หรือหมดแรงจากการเดินทางบนเครื่องอีกต่อไป

1. ไฟลท์ตอนกลางคืนดีที่สุด

หนึ่งในคำแนะนำง่ายๆ ก็คือการเลือกไฟลท์ให้ตรงกับช่วงเวลานอนของเรา และเมื่อถึงวันเดินทางอาจจะตื่นนอนก่อนซัก 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อที่จะได้สามารถไปนอนต่อบนเครื่องบินได้


2. วันอังคาร และวันพุธ คือวันที่ดีที่สุด

ถ้าคุณรู้สึกไม่ชอบการเบียดเสียด หรือความแออัดจากผู้โดยสารจำนวนมากละก็ มีผลสำรวจออกมาแล้วว่าวันอังคาร และวันพุธ เป็นวันที่ได้รับความนิยมในการเดินทางน้อยที่สุด


3. ที่นั่งติดกับหน้าต่างคือทำเลที่ดีที่สุด

พยายามเลือกที่นั่งให้ติดกับหน้าต่างเข้าไว้ เพื่อที่ว่าเราจะได้ใช้พื้นที่ด้านข้างสำหรับพิงศรีษะได้ อ้อ.. และที่สำคัญอย่าจองที่นั่งใกล้กับห้องน้ำเด็ดขาด


4. เอนเบาะไปข้างหลังให้สุด

ถ้าคุณรู้สึกว่าร่างกายต้องการพักผ่อนแล้วละก็ ให้ปรับเบาะเอนไปข้างหลังให้สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะการนอนหลับที่ผิดสรีระอาจทำให้คุณเกิดอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อตามมาได้เช่นกัน


5. เลือกชุดที่ใส่สบายเข้าไว้

หากคุณไม่ได้รีบไปติดต่อธุรกิจ หรือไม่มีความจำเป็นที่จะต้องแต่งตัวให้ดูเป็นทางการแล้วล่ะก็ เก็บชุดเสื้อผ้าเหล่านั้นยัดใส่กระเป๋าไปได้เลย เพราะเสื้อผ้าที่ใส่สบายจะช่วยทำให้คุณรู้สึกสบายกับการเดินทางได้ดีกว่าหลายเท่าเลยล่ะ


6. รัดเข็มขัดนิรภัยไว้เหนือเสื้อผ้า

อันที่จริงการรัดเข็มขัดนิรภัยไว้เหนือเสื้อผ้า ไม่ได้ช่วยให้คุณพักผ่อนได้สบายมากขึ้นหรอก แต่มันช่วยบอกทีมลูกเรือให้พวกเขารู้ได้ว่าคุณต้องการพักผ่อน และไม่อยากให้ใครมารบกวนในระหว่างเที่ยวบิน


7. อุปกรณ์เสริมต่างๆ ก็ช่วยได้นะ

แสงและเสียงอาจจะเป็นปัจจัยหลักที่รบกวนคุณเวลาหลับบนเครื่องบิน เพราะฉะนั้นอุปกรณ์เสริมต่างๆ สำหรับการเข้านอนก็ช่วยคุณได้ดีเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นผ้าปิดตา หมอนรองคอ หรือที่อุดหู


8. เก็บอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิดไว้ก่อน

ควรรู้ไว้ว่าแสงจากหน้าจอสมาร์ทโฟนทั้งหลายทำให้สมองคุณตื่นและพักผ่อนได้น้อยลง เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้เก็บมันไว้ก่อน และเปลี่ยนเป็นอ่านหนังสือ หรืออะไรที่ไม่ต้องใช้แสงมากเกินไปจะดีกว่า


9. อาหารการกินก็สำคัญไม่แพ้กัน

การทานอาหารที่มากเกินไปอาจส่งผลต่อการนอนหลับบนเครื่องบินได้ เพราะฉะนั้นเราควรทานอาหารที่ไม่หนักเกินไป และเป็นอาหารที่เฮลตี้พอสมควร เครื่องดื่มก็ควรจะเปลี่ยนจากแอลกอฮอล์เป็นชาหรือน้ำเปล่าแทน


หวังว่าเทคนิคทั้งหมดนี้ จะช่วยให้การเดินทางของใครหลายคนสบายขึ้นไปอีกนะ…

ขอบคุณ  catdumb.com


ขอให้คิดเสมอว่า วันนี้อาจจะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตก็ได้ ขอให้เราอย่าได้ประมาท”
ทุกๆ เช้า-เย็น หลังจากทำวัตรสวดมนต์ เจริญจิตภาวนาเสร็จ หลวงพ่อเจ้าอาวาสให้โอวาทเตือนสติพระภิกษุ-สามเณรเป็นประจำทุกๆ วัน

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ ๑๐ ปีที่แล้ว หลายท่านคงเคยได้ยินข่าวพระสงฆ์ถูกระเบิดขณะออกบิณฑบาต ในถนนหลักติดตลาด เขตอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ผู้เขียนยังจำภาพนั้นจากข่าวติดตาอยู่เลย
ภาพพระสงฆ์จำนวน ๔-๕ รูปนอนเกลื่อนถนน บาตรกระจัดกระจาย ลูกศิษย์ถือปิ่นโต นอนจมกองเลือดด้วยความเจ็บปวด แต่ก็จำไม่ได้ว่าพระสงฆ์แต่ละรูปนั้นเป็นใคร

http://unitus.synergy-e.com/www/delivery/lg.php?bannerid=0&campaignid=0&zoneid=11964&loc=http%3A%2F%2Fwww.komchadluek.net%2Fnews%2Fknowledge%2F282955%23.WUTco0rO2s4.twitter&cb=ebe7972875&oxsize=x
วันหนึ่งผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปที่วัดพรหมนิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส แล้วนั่งฟังพระสงฆ์รูปหนึ่ง ท่านเล่าถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับพระสงฆ์โดนระเบิดขณะออกบิณฑบาตให้ฟัง หลายรูปก็ฟังด้วยใจจดใจจ่อ ท่านเล่าเหตุการณ์แต่ละฉากๆ เสมือนว่าท่านอยู่ในเหตุการณ์จริง ผู้เขียนนั่งฟังอยู่ก็นึกภาพไปตาม สัมผัสได้ถึงความเจ็บ ทุกข์ทรมานกายใจ

ตอนนั้น พระครูวิสิฐพรหมคุณ หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านก็นั่งฟังอยู่ด้วย สักพักหนึ่งท่านก็เปิดภาพข่าวหนังสือพิมพ์เก่าๆ ฉบับหนึ่งในโทรศัพท์ให้ดู ซึ่งเป็นภาพของท่านเองที่ถูกระเบิด วันนี้เรามาเจอผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ท่านเล่าย้อนให้ฟังว่า

 " วันที่เกิดเหตุไม่ได้มีลางบอกเหตุอะไรมาก่อน ก็เดินออกไปบิณฑบาตตามปกติ สิ้นเสียงระเบิดก็เห็นทุกคนล้มลง รวมถึงตัวเองด้วย ตอนนั้นมีสติดี อยากจะช่วยเหลือทุกคน แต่ได้ยินแต่เสียงตะโกนบอกว่า ระวังดีๆ อาจจะมีระเบิดซ้ำ ตอนนั้นไม่รู้จะระวังอย่างไร เพราะขยับตัวไปไหนไม่ได้ เป็นบุญอยู่ที่ไม่มรณภาพ ปัจจุบันจีวรชุดนั้นผมยังเก็บไว้อยู่ กราบก่อนนอนจำวัดทุกวัน บาตรที่เป็นรูถูกสะเก็ดระเบิดก็ยังเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เตือนสติ ถึงความไม่แน่นอนของชีวิต ความตายเกิดขึ้นได้ทุกวินาที "

หลวงพ่อเจ้าอาวาสเล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า ทุกวันนี้หลังจากทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น แผ่เมตตาเสร็จแล้ว ก็ให้โอวาทแก่พระภิกษุ-สามเณรตลอดเวลาว่า
“ขอให้คิดเสมอว่า วันนี้อาจจะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตก็ได้ ขอให้เราอย่าได้ประมาท” 

ท่านพูดไปยิ้มไป เล่าถึงจังหวัดนราธิวาสว่า มีแต่ของดีทั้งนั้น ธรรมชาติดี อากาศดี อาหารดี ทุกอย่างดีหมด แต่บางครั้งคนอารมณ์ไม่ดี ก็เลยมีวางระเบิดบ้าง ผู้เขียนได้ฟังหลวงพ่อแล้วก็รู้สึกผ่อนคลายไปเยอะ นึกถึงท่านว่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอย่างนี้ ท่านก็ยังมีอารมณ์ขัน อารมณ์ขันมันดีอย่างนี้นี่เอง แต่อารมณ์ไม่ดี ไม่ดีเลย

ได้ยินเรื่องของอารมณ์ไม่ดี ตั้งแต่เดินทางมาเข้ามาในเขตของพื้นที่จังหวัดนราธิวาส คนขับรถเป็นผู้มีความชำนาญเส้นทางเป็นพิเศษ รู้เรื่องเหตุการณ์เยอะมาก พอแต่รถวิ่งผ่านไปที่ตรงไหนจะมีเรื่องเล่าให้ฟังตลอดว่า เส้นทางนี้เคยเกิดเหตุระเบิดแล้วกี่ครั้งแล้ว ตรงนี้มีการยิงแล้วทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนกี่ศพอะไรทำนองนี้ ตรงนี้เขาชอบวางตะปูเรือใบเจ้าหน้าที่ ซึ่งมองในมุมหนึ่งก็เป็นการฝึกมรณานุสติได้เป็นอย่างดี ให้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ แต่ในระหว่างนั้นผู้เขียนมีความตื่นเต้นไม่ค่อยมองเป็นมรณานุสติเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะถูกความกลัวครอบงำ

วันหนึ่งผู้เขียนมีธุระไปในตัวเมืองนราธิวาสจึงได้ขอติดรถโยมท่านหนึ่งไปด้วย โยมเล่าให้ฟังว่า เป็นคนจังหวัดเชียงใหม่ มาอยู่ที่นี่นานพอสมควรแล้ว ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ใหม่ๆ ก็มีความกลัวอยู่บ้าง แต่ทุกวันนี้มีความรู้สึกเป็นปกติแล้ว มีความเข้าใจเหตุการณ์ 

โยมคิดอย่างนี้ ถ้ามันถึงคราวของเราอยู่ที่ไหนก็ตาย ซึ่งในขณะนั้นรถวิ่งไปถึงตรงจุดที่เกิดเหตุการณ์ระเบิดพระสงฆ์บิณฑบาตในครั้งนั้นพอดี โยมพูดไปด้วยพร้อมกับชี้บอกว่า ที่ตรงนี้แหละที่หลวงพ่อโดนระเบิด เห็นไหมขนาดโดนระเบิด ถ้ายังไม่ถึงคราวตายก็ไม่ตาย ทุกวันนี้โยมคิดอย่างนี้ ไปไหนมาไหนสบายหน่อย”

แล้วโยมก็หันหน้ามาถามผู้เขียนว่า แล้วพระอาจารย์คิดอย่างไร ไม่กลัวหรือจึงลงมาถึงจังหวัดนราธิวาส

ผู้เขียนตอบว่า เรื่องความกลัวเป็นเรื่องธรรมดา ที่สุดของความกลัวก็คือความตาย โยมก็พูดขึ้นประโยคหนึ่งบอกว่า ท่าน ไม่ต้องกลัวหรอก โยมรับรองเรื่องความปลอดภัย แต่เรื่องความไม่ปลอดภัย โยมไม่กล้ารับรอง พอโยมพูดประโยคนี้ขึ้นมา มันทำให้หวนระลึกถึงคำว่า มรณานุสติได้อย่างแท้จริง

วันนั้นโยมพาไปสัมผัสพื้นที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์ พร้อมมีเรื่องเล่าประกอบให้เห็นความเป็นอยู่ของวิถีชีวิตของคนที่นี่ ทำให้ผู้เขียนได้เข้าใจความรู้สึกของคนในพื้นที่ว่า เวลาเกิดเหตุการณ์แล้วรู้สึกอย่างไร ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงครั้งไหนที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ทำความรู้สึกให้เกิดความเจ็บปวด

การดำรงอยู่ได้ของกิจวัตรของพระสงฆ์ในพื้นที่ คือการดำรงอยู่ได้ของพระพุทธศาสนา ในพื้นที่ซึ่งชาวพุทธเหลืออยู่น้อย อย่างเช่นในพื้นที่ของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ถ้าสถานการณ์ยังเป็นอยู่ในลักษณะนี้ อีกไม่นานคงจะหมดไป เพราะในหลายๆ พื้นที่ไม่มีผู้สืบต่อแล้ว พูดถึงคนที่จะบวชก็มีน้อยลงเต็มที ที่วัดก็มีหลวงปู่ หลวงตาที่ทำหน้าที่ในการดูแลวัด ดูแลพระพุทธศาสนา

ดูเหมือนว่า พระสงฆ์ในพื้นที่ก็อยู่ลำบากมากขึ้น จะไปไหนมาไหน ก็ยากลำบาก เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้ ในไม่ช้าพระสงฆ์ก็คงหมดไปในพื้นที่ จะเหลือแต่เพียงซากกุฏิ ศาลา วิหาร ลานเจดีย์ที่มีแต่จะผุพังไปตามกาลเวลา และมีสัญลักษณ์เพียงแค่สีจีวรให้ได้ระลึกถึงว่า ณ ดินแดนแห่งนี้เคยมีพระสงฆ์ เคยมีชาวพุทธอาศัยอยู่ ทุกๆ เช้าชาวบ้านจะมาคอยใส่บาตรพระสงฆ์ แสงอาทิตย์สาดส่องกระทบจีวรให้เหลืองอร่าม คิดแล้วก็ได้แต่สังเวชใจ

ผู้เขียนได้ยินเรื่องราวแล้วทำให้เกิดความสะเทือนใจเป็นอย่างมาก มีครั้งหนึ่งทางโรงพยาบาลต้องการจะนิมนต์พระสงฆ์ไปโปรดญาติโยมที่ป่วยหนักที่อยู่ในโรงพยาบาล คนป่วยหวังอยากจะเห็นพระสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญของชีวิต ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะหมดลมหายใจ แล้วก็ไปนิมนต์พระสงฆ์ที่วัดแห่งหนึ่งแต่ก็ไม่มีรูปไหนที่จะเดินทางไปได้ โยมผู้มานิมนต์ก็เลยบอกว่า ไม่เป็นไรท่าน งั้นโยมขอยืมบาตรและจีวรไปให้คนป่วยได้เห็นชายผ้าเหลือง ได้อธิษฐานแทนก็แล้วกัน แล้วโยมก็นำบาตรและจีวรไปให้คนป่วยได้อธิษฐานตามที่กล่าวอย่างนั้นจริงๆ

เราทุกคนไม่สามารถจะย้อนเวลากลับไปทำหน้าที่ที่มันผ่านมาแล้วได้ สิ่งที่เราจะทำได้คือทำปัจจุบันให้ดีที่สุด พูดถึงการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตอาสาก็เป็นอีกหนึ่งบทบาทของพระสงฆ์ในพื้นที่ที่ยืนหยัดอยู่เป็นที่พึ่งให้แก่ชาวบ้านให้แก่ชุมชน

ผู้เขียนได้พูดคุยกับพระธรรมทูตอาสารูปหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส ท่านเล่าให้ฟังว่ามีแรงบันดาลใจในการทำหน้าที่ เมื่อครั้งหนึ่งคณะพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มากราบเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ผู้ดำริให้จัดตั้งพระธรรมทูตอาสาขึ้น แล้วเจ้าประคุณฯ ก็ได้ให้โอวาท มีความตอนหนึ่งว่า เราตายได้ พระพุทธศาสนาตายไม่ได้ หากไม่มีพระสงฆ์ในพื้นที่ชาวพุทธก็หมดที่พึ่ง แม้วันใดวันหนึ่งข้างหน้า พระพุทธศาสนา ชาวพุทธจะอยู่ไม่ได้จริงๆ ก็ขอให้พระสงฆ์เดินออกจากพื้นที่เป็นคนสุดท้าย”

 
ทำให้ในปัจจุบันนี้หลายรูปได้ทำลายกำแพงแห่งความกลัวไป เหลือไว้แต่หัวใจที่เสียสละด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตามปณิธานของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เขียนได้เห็นข่าวการออกบิณฑบาตของพระครูปัญญาธนากร เจ้าอาวาสวัดตันติการาม ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งหยุดการบิณฑบาตมา ๑๒ ปีแล้ว ด้วยความมุ่งหวังอยากให้ลูกศิษย์ที่บวชด้วย ออกไปโปรดญาติโยมเป็นเนื้อนาบุญให้กับโยมพ่อโยมแม่ และญาติพี่น้องบ้าง จึงเป็นภาพที่เป็นนิมิตหมายอันดี สำหรับการคืนลมหายใจให้แก่พระพุทธศาสนาในพื้นที่สีแดงของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่ว่าดีหรือร้าย ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป การที่เราปล่อยวางภาระหน้าที่ต่อพระศาสนาที่เราอาศัยอยู่ โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย บางทีเราอาจจะคิดว่า เราเป็นผู้โชคดีที่สุด แต่ถ้าพลันนึกถึงวันสุดท้ายของชีวิต เราจะเป็นคนที่เสียดายที่สุด เสียดายที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เกิดมาได้อาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งของชีวิต แต่ไม่ได้ตอบแทนคุณพระพุทธศาสนาเลย เหมือนเราได้อาศัยแม่ผู้ให้กำเนิด แต่ไม่เคยตอบแทนพระคุณท่านเลย

โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท 

ขอบคุณเเหล่งข้อมูล http://www.komchadluek.net

วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

การเรียนภาษาที่สองอย่างภาษาอังกฤษกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นแล้ว ถ้าจะให้ดีมากกว่านี้ก็ควรที่จะเรียนรู้ภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย นอกจากจะได้ความรู้แล้วยังสามารถนำไปใช้ได้จริงเวลาที่ต้องออกเดินทางไปต่างประเทศ หรือ การติดต่อพูดคุยกับเจ้าของภาษานั่นเอง เวปตัวอย่างทั้งหมดนี้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น มีเวปอะไรกันบ้าง ไปดูกัน

1.Duolingo


มาที่เว็บแรก เหมากันไปเลย 3 ภาษาในเว็บเดียว มีทั้งภาษาเยอรมัน สเปน และฝรั่งเศสจ้า

2.Busuu


อีกหนึ่งเว็บไซต์เรียนภาษาที่ติดท้อป มีจำนวนคนใช้เยอะมากๆ แถมเรียนได้หลายภาษาด้วย

3.Foreign Services Institute


มีภาษาให้เลือกเรียนเยอะมาก!! ภาษาแอฟริกันกับเอเชียกลางก็ยังมีเลย ถึงแม้หน้าตาเว็บจะดูไม่ค่อยทันสมัยซักเท่าไหร่ แต่เด็ดตรงที่ว่ามีให้โหลดแบบไฟล์ pdf ด้วยนะเออ

4.Livemocha


เว็บไซต์นี้มีแนวคิดที่ดีมากๆ สอนมาสอนกลับ ไม่โกง 100% (เหมือนอะไรว้า?) ก็คือ ต่างคนต่างเข้ามาสอนภาษาที่ตนเองถนัดให้กับคนอื่น ซึ่งถ้าเราไม่ถนัดภาษาที่ต้องการจะเรียนรู้ เจ้าของภาษาจะเข้ามาช่วยคุณเอง

5.Memrise


คอนเซปเว็บนี้คือการเรียนเกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งจะคอยกระตุ้นให้ผู้ใช้อยากที่จะเรียนรู้ตลอดเวลาเลยแหละ น่าสนใจมากๆ

6.Internet Polyglot


เป็นเว็บไซต์เล่นเกมง่ายๆ แต่รับรองว่าคุณจะได้รับความรู้ทางด้านภาษากลับไปเยอะเลยทีเดียว

7.Lang-8


เป็นการผสมผสานระหว่างเกมกับโซเชียลเน็ตเวิร์คไว้ด้วยกัน เมื่อเราโพสต์ข้อความของเราลงไป คนอื่นๆ ก็สามารถเรียบเรียงต่อได้ ช่วยในเรื่องของการจัดรูปประโยคที่ถูกต้องได้ดีเลยล่ะ

8.Anki



ทั้ง 8 WEB นี้ล้วนเเต่น่าสนใจ นอกจากได้ความรู้ ยังได้ความสนุกสนานผ่่านเกมภาษาไปด้วย อย่าช้าอยู่ไย ไปเปิดใช้กันเลยค่ะ

ขอบคุณเเหล่งที่มา : scholarship



การเลือกเรียนภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่ 2 นั้นสำคัญตรงที่ทำให้เราเดินทางไปได้ทั่วโลก โอกาสดีๆในชีวิตดีกว่าคนที่ได้เเค่ภาษาเเม่ภาษาเดียว เเละหากเรารู้ภาษาที่ 3 เพิ่มขึ้นด้วย จะยิ่งเปิดโอกาสให้กับชีวิตได้รื่นรมย์ทั้ง ทั้งการงาน การท่องเที่ยว เเละการศึกษาเรียนรู้ ว่าเเต่ว่าภาษาอะไรที่เราควรเรียนเพิ่มนอกจากภาษาอังกฤษล่ะ

ภาษาเยอรมันเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ใครต่อใครหลายคนเลือกเรียนเป็นภาษาที่ 3 เรามาดูกันดีกว่าว่า 5เหตุผลที่เราควรเรียนภาษาเยอรมันทั้ง 5 ข้อ นั้นมีอะไรกันบ้าง

1. ภาษาเยอรมันเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไปในทวีปยุโรป


นอกจากประเทศเยอรมนีแล้ว ภาษาเยอรมันยังเป็นภาษาราชการของ
ประเทศออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก และลิกเตนสไตน์ นอกจากนี้ยังเป็นภาษาที่ใช้พูดกันอย่างมากในอิตาลี่, ฝั่งตะวันออกของเบลเยี่ยม, เนเธอร์แลนด์, เดนมาร์ก, ฝั่งตะวันออกของฝรั่งเศส, บางส่วนในโปแลนด์, สาธารณรัฐเช็ค, รัสเซีย และโรมาเนีย

2. ภาษาเยอรมันไม่ยากอย่างที่คิด



ภาษาเยอรมันมีคำศัพท์และไวยากรณ์ใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีระบบการออกเสียงที่ดี ซึ่งหากได้เรียนรู้แล้ว มันจะง่ายต่อการเดาว่าเมื่อฟังคำศัพท์คำนี้แล้วจะเขียนว่าอย่างไร หรือเมื่อเห็นคำศัพท์คำนี้แล้วควรออกเสียงอย่างไร

3. การอ่านวรรณกรรม


 วรรณกรรมฉบับดั้งเดิมส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาษาเยอรมัน นอกจากนี้หนังสือใหม่ ๆ ที่ถูกตีพิมพ์ในประเทศเยอรมนีในแต่ละปีนั้น ภาษาเยอรมันถือว่าเป็นภาษาอันดับที่ 3 ของโลกที่มีการแปลหนังสือเยอะที่สุดอีกด้วย

4. โอกาสทางธุรกิจ


 ภาษาเยอรมันมีความ
สำคัญทางด้านการค้าในยุโรป โดยเฉพาะการพัฒนาความสัมพันธ์ทางด้านธุรกิจกับคู่ค้า ซึ่งปัจจุบันประเทศเยอรมนีถือได้ว่าเป็นประเภทที่มีอุตสาหกรรมใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก และเป็นประเทศที่มีการส่งออกที่สำคัญของโลกอีกด้วย

5. เรียนรู้วัฒนธรรม



การมีความรู้ความเข้าใจในภาษาเยอรมันถือได้ว่าเป็นการเปิดประตูสู่วัฒนธรรมของยุโรป ไม่ว่าจะเป็นทางด้านวัฒนธรรมภาษา, ดนตรีคลาสสิค และอื่นๆอีกมากมาย
  
5 เหตุผลดีๆเหล่านี้ คงมองออกกันบ้างเเล้วว่าภาษาเยอรมันน่าสนใจขนาดไหน เริ่มลงมือ เรียนรู้ เเล้วไปใช้ท่องโลกกันเลยค่ะ

ขอบคุณเเหล่งข้อมูล http://www.catdumb.com

วันศุกร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2560






สอนลูกชายให้มีความรับผิดชอบ...ต้องทำอย่างนี้!!!!
พอเปิดเทอม ผู้ปกครองที่รร. Catholic High School for Boys รัฐ Arkansas ก็ได้รับแจ้งเตือนให้รับทราบนโยบายที่รร. ปฏิบัติมาหลายสิบปีแล้ว
ที่ไม่อนุญาตให้ผู้ปกครองนำการบ้าน อาหาร หรืออุปกรณ์กีฬาที่นักเรียนลืมไว้ที่บ้านมาส่งให้ที่โรงเรียน
นอกเหนือจากการติดป้ายเตือนไว้หน้าโรงเรียนว่า

“หยุดก่อน! ถ้าคุณจะนำอาหาร หนังสือ การบ้าน อุปกรณ์ ฯลฯ มาส่งให้ลูกละก็ กรุณาหันหลังกลับ แล้วเดินออกไปจากอาคารเสียเถิด
ลูกของคุณจะได้เรียนรู้การแก้ปัญหาเวลาคุณไม่อยู่”

มีคนแชร์โพสต์นี้ไปเป็นแสน
กลายเป็นที่โจษขานกันไปทั่ว
บางคนเห็นว่ารุนแรงเกินไป
ถึงแม้เสียงส่วนใหญ่จะเห็นด้วยว่า
“นี่เป็นการสอนให้เด็กหนุ่ม ๆ เป็นผู้ใหญ่ สามี
และพ่อที่มีความรับผิดชอบต่อไป โดยผ่าน
‘ความล้มเหลวขั้นเบาะ ๆ ’ 

  Margaret Barsocchi Willis ผู้ปกครองคนหนึ่งแสดงความเห็น
การลืมของเหล่านี้เป็นความผิดพลาดเล็กน้อยที่ไม่มีผลสืบเนื่องร้ายแรงอะไร


“นี่เป็นส่วนหนึ่งในภารกิจของเราเพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักพึ่งพาตัวเองและรับผิดชอบด้วยตัวเอง”
ผู้อำนวยการ Steve Straessle ชี้แจง
“เราต้องการให้เด็กรู้จักคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าพ่อหรือแม่ไม่อยู่คอยช่วยเหลือ... เด็กมักโทรบอกพ่อแม่ให้มาช่วยแก้ปัญหาให้ แต่เราพยายามให้นักเรียนของเราต้านทานแนวโน้มนี้ คิดหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

"เป้าหมายอีกประการหนึ่งคือเพื่อสอนเด็กถึง
'ความล้มเหลวขั้นเบาะ ๆ ' เช่น ลืมของ เข้าทีมไม่ได้
หรือเผชิญกับผลจากพฤติกรรมผิดพลาดของตน


ความล้มเหลวขั้นเบาะ ๆ เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะเป็นพื้นฐานในการเป็นผู้ใหญ่ ความล้มเหลวขั้นเบาะ ๆไม่เคยทำลายชีวิตใคร 
แต่การขาดความล้มเหลวขั้นเบาะ ๆ ไปนี่สิทำลายชีวิตคนมานักต่อนักแล้ว...
นี่ไม่ใช่เรื่องโหดร้ายอะไรหรอก เป็นบทเรียนที่ไม่มีในตำรา 

แต่สำคัญพอ ๆ กับแคลคูคัสหรือเขียนเรียงความทีเดียว”
Catholic High School ไม่ใช่โรงเรียนเดียว
ที่มีนโยบายนี้ ก่อนหน้านั้นก็เคยมีข่าวฮือฮา
เมื่อโรงเรียน Lake Mary และ Oviedo High School
ที่ฟลอริดาใช้นโยบายเดียวกันนี้ตั้งแต่หลายปีก่อน

เนื่องจากผู้อำนวยการรำคาญตาที่เห็นห้องธุรการชักจะกลายเป็นห้องล็อคเกอร์ไปเสียแล้ว
ที่โรงเรียนส่วนใหญ่ต่างก็มีผู้ปกครองนำของที่ลูกลืมมาส่งให้ที่โรงเรียนมากขึ้นทุกที โดยเฉพาะเมื่อมีโทรศัพท์มือถือให้ติดต่อขอความช่วยเหลือได้ง่าย ๆ ประกอบกับทัศนะของพ่อแม่ก็เปลี่ยนไป

ใหม่ ๆ ผู้ปกครองก็ไม่พอใจ
แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีใครบ่นกันแล้ว
ส่วนใหญ่จะเข้าใจในเจตนาของโรงเรียน

“ตอนเข้ามาใหม่ ๆ หนูรู้สึกตกใจ” Caroline Smith นักเรียนม. 5 เล่า
เธอเท็กซ์ให้แม่เอาการบ้านมาให้เหมือนที่เคยทำมาที่โรงเรียนก่อน
แต่แม่ตอบมาว่าผิดระเบียบ
เดี๋ยวนี้เธอใส่ใจในการเตรียมของมาโรงเรียนมากขึ้น

“มันสอนให้หนูรู้จักรับผิดชอบ หนูว่านักเรียนเคยชินแล้วค่ะ ถ้าเกิดลืมก็เป็นความผิดของเรา เราได้แต่โกรธตัวเองว่าลืมได้ไง ไม่ได้โกรธโรงเรียนหรอกค่ะ
Patrick Wingfield นักเรียนม. 6 ที่ Catholic High School ก็เคยชินกับระเบียบของโรงเรียนแล้วเช่นกัน “ใหม่ ๆ ผมตกใจ แต่หลังจากผ่านไป 2 ปี
ผมก็เข้าใจว่าทำไมจึงมีกฏเช่นนี้.. มันทำให้ผมคิดได้ด้วยตัวเอง ไม่พึ่งพาให้คนอื่นคอยทำให้ และถ้าผมทำผิดพลาดไป ผมก็ต้องเรียนรู้และพยายามแก้ไข”

Rob McCue ผู้อำนวยการโรงเรียน South Lake High School
เห็นว่าการที่พ่อแม่นำของที่ลูกลืมมาให้ที่โรงเรียน 
สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วย 
สมัยที่เขาเรียนไฮสคูลอยู่นั้น  ไม่สามารถโทรติดต่อพ่อแม่ได้ง่าย ๆ
และถึงอย่างไรเขาก็ไม่คิดว่าพ่อแม่ของเขาจะรีบเอาของมาส่งให้ที่โรงเรียนหรอก

การรีบนำของที่ลูกลืมไว้ไปส่งให้ที่โรงเรียนเป็นตัวอย่างอันดับต้น ๆ ของการที่พ่อแม่พยายามขจัดความไม่รื่นรมย์ออกไปจากชีวิตของลูก
Jessica Laheyครูและแม่ผู้เขียนหนังสือเรื่อง “The Gift of Failure”
ให้ความเห็น เป็นธรรมดาที่เด็กจะลืมของ
แต่ก็เป็นการดีที่เขาจะคิดหาวิธีป้องกันความผิดพลาดทำนองนี้ในอนาคต วัยเด็กเป็นกระบวนการต่อเนื่องระยะยาวในการเรียนรู้การกรุยทางชีวิตของตนในโลก
การที่เยาวชนสมัยนี้ไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้
เป็นผลจากการที่พ่อแม่มีส่วนเกี่ยวข้องในชีวิตลูกมากเกินไป คอยเข้ามาปกป้องช่วยเหลือเมื่อลูกเผชิญกับความท้าทาย ทั้ง ๆ ที่การทำเช่นนั้นกลับจะเป็นผลร้ายต่อลูก เพราะทำให้ลูกต้านทานอุปสรรคต่าง ๆ ได้น้อยลง
ความสามารถในการเผชิญกับความล้มเหลวลดลง


จาก 'Exit the building': School tells parents to let kids problem solve on their own


คลังบทความของบล็อก

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Unordered List

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

โพสต์แนะนำ

ภูติ ผี ปีศาจ เเตกต่างกันอย่างไร

                ภูติ ผี ปีศาจ เป็นคำที่เราเคยได้ยินได้ฟัง มาตั้งเเต่ยังเด็ก เเม้กระทั่งละคร ภาพยนต์ต่างๆก็จะมีเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้...

Popular Posts

Text Widget